การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง ที่ลงนามโดยนายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และลงท้ายด้วยช่องทางการติดต่อ
กับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
หนังสือฉบับนี้ มีข้อสังเกตอยู่ 2 ประการก็คือ
1) การเรียกใช้ชื่อ "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง" ไม่ทราบว่าได้นำชื่อพิพิธภัณฑ์นี้มาจากที่ใด เนื่องจากหากเท้าความถึงเรื่องเดิมแล้ว ในกรณีของการดำเนินการเกี่ยวกับศาลาจังหวัดหลังเก่า จะรู้จักกันในนาม "หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง" ดังที่มีปรากฏอยู่ใน หนังสือที่ ลป 0016.3/2363 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547 ลงนามโดยนายอมรทัต นิรัตศยกุล
2) โครงการจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง" คืออะไร มาจากไหน ใครเป็นคนจัดทำ
3) อำนาจในการดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนั้น ตามข่าวจะเห็นว่าจังหวัดได้มอบหมายให้เทศบาลนครลำปางเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบอาคารสถานที่ แต่เหตุไฉนสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง จึงเป็นผู้ดูแลเรื่องการรับบริจาควัตถุโบราณ โดยที่ยังมิได้มีการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าภาพ มิพักที่จะต้องพูดถึงการแจ้งข่าวต่อที่ประชุม และที่สาธารณะ
การดำเนินการร่วมกันในหลายฝ่าย ล้วนเป็นความความตั้งใจที่ดี แต่หากมิได้รับการประสานงานและทำความเข้าใจต่อกันอย่างเพียงพอแล้ว อาจทำให้การดำเนินประสบปัญหาอย่างที่ไม่ควรจะเป็น ดังนั้น ความตั้งใจของบทความนี้ก็เพื่อทบทวนจุดยืนดังกล่าว
ด้านล่างนี้คือ เนื้อความในจดหมาย
ที่ ลป 0031/2060
ศาลากลางจังหวัดลำปาง
ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท
อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
15 มิถุนายน 2552
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์รับเป็นเจ้าภาพบริจาควัตถุโราณในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง
เรียน ...
สิ่งที่ส่งมาด้วย โครงการจัดตั้งพิพิธภัณพ์พื้นบ้านนครลำปางฯ พร้อมแบบตอบรับการบริจาค จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วยจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีภูมิประวัติอันยาวนาน ประมาณ 1,329 ปี บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างศิลปะ สืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีหลักฐานที่เป็นแหล่งโบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ตลอด จนมีสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคล ผู้เป็นปราชญ์ท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขาต่างๆ อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดลำปาง มีจำนวนมากมาย ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้มุ่งเน้นให้ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้มีการศึกษาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน โดยนำ ภูมิปัญญาและจารีตประเพณีมาประกอบการดำเนินชีวิตและครอบครัวให้มีความสุขอย่างพอเพียง อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสืบไป
ดังนั้นจังหวัดลำปางเห็นว่าศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิมของจังหวัดลำปางสามารถใช้เป็นที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลำปาง ยังผลต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต สังคมและเศรษฐกิจทั้งระดับ ท้องถิ่นและระดับชาติโดยรวมของจังหวัดได้ แต่เนื่องด้วยอาคารดังกล่าวควรมีการปรับปรุงสภาพให้เหมาะสมกับการจัดแสดงนิทรรศการถาวรในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์และการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจังหวัดได้มีการจัดประชุมคณะทำงานฯขึ้นแล้วหลายครั้ง
ความก้าวหน้าในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนนครลำปาง คือ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และคณะทำงาน ได้ทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล โดยงบประมาณผ่านไปแล้วร้อยละ 90 เพื่อให้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปางเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งฯ จังหวัดลำปางจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านรับเป็นเจ้าภาพบริจาควัตถุโบราณ (อาทิเช่น เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้า เครื่องประดับ วัตถุประกอบการทำอาหาร เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องมือในการประกอบอาชีพ รูปภาพ เป็นต้น)สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลำปางและเพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมาอันยาวนานของจังหวัดลำปางที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ให้ต่อไปถึงรุ่นลูกหลานในอนาคต
จังหวัดลำปางจึงขอความอนุเคราะห์จากท่านเป็นเจ้าภาพบริจาควัตถุโบราณดังกล่าวสำหรับนำไป ดูแล รักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง
โดยขอความกรุณาจากท่านกรอกแบบแสดงความประสงค์ในการบริจาคตามแบบฟอร์ที่แนบมาพร้อมนี้ ส่งคืนให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 409 ถนนพระเจ้าทันใจ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000 เบอร์โทรศัพท์ 054-228763 โทรสาร 054-228762 เพื่อจัดทำทำเนียบผู้บริจาคฯ ส่วนสิ่งของวัตถุโบราณจะขอรับต่อเมื่อได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อให้ความอนุเคราะห์รับเป็นเจ้าภาพบริจาควัตถุโบราณดังกล่าวต่อไป ขอบุญบารมีที่ท่านได้กระทำให้แก่จังหวัดลำปางในครั้งนี้จงส่งผลให้ท่านและครอบครัวของท่านประสบแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
กลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
โทร 0 5422 8763
โทรสาร 0 5422
8762
ไม่เพียงเท่านั้น เรายังได้คัดลอกแบบฟอร์มการตอบรับเป็นเจ้าภาพมาให้ดูกันด้วย
แบบตอบรับเป็นเจ้าภาพบริจาควัตถุโบราณสำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
******************
ข้าพเจ้า
นาย/นาง/น.ส........................นามสกุล..................................
ตำแหน่งหน้าที่การงาน......................................................
ที่อยู่.........................................................................
.........................................................................
.........................................................................
เบอร์โทรศัพท์
.........................................................................
โทรศัพท์มือถือ
.........................................................................
มีความประสงค์เป็นเจ้าภาพรับบริจาควัตถุโบราณเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านนครลำปาง
(ศาลากลางจังหวัดหลังเดิม) จำนวน.......................รายการ ดังนี้
1..........................................................................
2.........................................................................
3.........................................................................
4.........................................................................
5.........................................................................
6.........................................................................
7.........................................................................
8.........................................................................
9.........................................................................
10.........................................................................
ลงชื่อ
.........................................................................
(.........................................................................)
ผู้บริจาควัตถุโบราณ
วันที่............เดือน............................พ.ศ......................
..........................
สายสืบหอศิลป์
พุธ 8
กรกฎา 52