งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน (เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่ 1 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม วันที่ 24-26 ตุลาคม 2546

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในลำปาง


ภาพหีบธรรม
ที่มา : วิถี พานิชพันธ์. "ร้อยสายลายละกอน " ใน อนุสรณ์นางบุญแถม เดียวตระกูล 18 ธันวาคม 2547, กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง, น.131

ด้านล่างเป็น Link ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในลำปางที่ได้ทำไว้จากข้อมูลของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯเป็นหลัก ซึ่งจัดเป็นระบบไว้ในเว็บบล็อกที่ชื่อว่า Lampang Museum Network

ในที่นี้นำเสนอเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศที่จะมีการจัดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2551 ในอนาคตก็มิแน่ว่า การเกิดขึ้นของหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางนั้น จะต้องมีภารกิจที่สร้างการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในลำปางมากน้อยเพียงใด

015 อื่นๆในฐานข้อมูลศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
014 พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา
013 ศูนย์บ้านปูนิทัศน์
012 ศูนย์ศิลปะชุมชนเมืองงาว(บ้านจ้างหลวง)
011 บ้านเสานัก

010 บ้านป่องนัก
009 พิพิธภัณฑ์สถานภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนแจ้ห่มวิทยา
008 พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิง
007 พิพิธภัณฑ์วัดพระเจ้าทันใจ
006 พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเสด็จ

005 ห้องแสดงศิลปวัตถุ วัดปงสนุก
004 พิพิธภัณฑสถานเขลางค์นคร
003 พิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
002 พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง
001 พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวง

แม้จะมีพิพิธภัณฑ์มากมายเพียงใด แต่หากขาดการสนทนากับคนลำปางแล้วล่ะก็ พิพิธภัณฑ์นั้นก็คงจะต้องค้นหาความหมายของตนต่อไปเพียงลำพัง
....................
เสาร์ 25
ตุลา 51

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2551งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นระดับชาติ 3-5 พฤศจิกานี้


โปสเตอร์งาน เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ที่มา : http://www.sac.or.th/


“ฟังเรื่องเล่า ฟื้นความหลัง สร้างพลังท้องถิ่น ”
ที่มา : http://www3.sac.or.th/lmf2008/?p=161

คุณเคยเก็บสะสมของบางอย่าง เพราะความรัก ความผูกพันกับของเหล่านั้นมั้ย?
คุณเคยเก็บรักษาของบางอย่าง เพราะชวนให้ระลึกถึงผู้เฒ่าผู้แก่ในครอบครัว หรือคนที่คุณรักมั้ย?
คุณเคยเสาะแสวงหาของบางอย่าง เพราะความแปลกตา สวยงาม หรือเพราะเรื่องราวจากข้าวของนั้นมั้ย?
ถ้าคำตอบของคุณ คือ เคย เราอยากให้คุณลองมาชม มาฟังเรื่องเล่าจากพิพิธภัณฑ์ใน


เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2551
ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ฟังเรื่องเล่า
- รู้จักชุมชน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน การกินการอยู่ การละเล่น รู้จักเขารู้จักเรา จากปากคำของเจ้าของวัฒนธรรมฟื้นความหลัง
- ดูข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือดักสัตว์ เครื่องมือทำนา ของเล่น งานศิลปะ ของจากโลกอดีต ของใหม่ในท้องถิ่น ฯลฯ ที่หาดูได้ยาก หรือคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแล้ว สร้างพลังท้องถิ่น
- แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ร่วมให้กำลังใจชาวชุมชนที่กำลังดูแลรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของตนให้งอกงาม

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 ของการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้พบปะพิพิธภัณฑ์มากมายในหลายเวทีท้องถิ่น และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเวทีสาธารณะ

จึงเห็นควรริเริ่มจัดงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (Local Museum Festival)
ในระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤศจิกายน 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ

เพื่อเป็นเวทีกลางให้สมาชิกเครือข่ายได้สานสัมพันธ์ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างชุมชนคนทำงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเปิดเวทีวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งวงเสวนา-เล่าเรื่องประสาคนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของวัฒนธรรม
ด้านล่างคือรายละเอียดของงาน
..................
A : ความเป็นมาของงานเทศกาลฯ

หลักการและเหตุผล
โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ได้พัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ตั้งแต่โครงการระยะที่ 1 เมื่อพ.ศ. 2547 ทั้งนี้ ความสำคัญของเวทีการพบปะระหว่างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็น “ชุมชนปฏิบัติการ” หรือพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ด้วยเหตุนี้ การสร้างเวทีในการพบปะระหว่างสมาชิกในเครือข่ายสามารถเป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาวิชาการพิพิธภัณฑ์ ทั้งเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกในเครือข่ายเอง และระหว่างองค์กรภายนอกอื่นๆ ที่เข้ามาแบ่งปันประสบการณ์

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะเป็นทั้งรูปแบบของการเปิดเวทีวิชาการ เช่น การนำเสนอผลงานวิจัย การนำเสนอโครงการทางวัฒนธรรมที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน และการอภิปรายประเด็นทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นเวทีของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย นั่นหมายถึง การตั้งซุ้มแสดงผลงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือองค์กรวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมประชุมมีโอกาสพูดคุยและซักถามกับผู้ดูแลโครงการนั้นๆ โดยตรง

LMF (Local Museum Festival) จะจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสในการรวบรวมข้อมูลการทำงานของตนเอง จากนั้น เป็นการพัฒนาและเรียบเรียงข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่สู่สาธารณชนในลักษณะต่างๆ ทั้งงานเขียน งานนิทรรศการ สื่อการศึกษาประเภทอื่นๆ เวทีของเทศกาลนี้จะส่งเสริมให้สมาชิกในเครือข่ายยังคงมีปฏิสัมพันธ์และพัฒนาต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

-เพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ส่งเสริมงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
-เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วประเทศ
-เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
-เพื่อพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการกับพิพิธภัณฑ์และองค์กรทางวัฒนธรรมในต่างประเทศ
..................
B :
กิจกรรมวิชาการ
นอกจากการแสดงนิทรรศการแล้ว อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การเสวนาเกี่ยวกับสาระวิชาการทางด้านพิพิธภัณฑ์ในแง่มุมต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเชิญนักวิจัย นักวิชาการทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านมาถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานให้ฟัง ตลอดจนวงเสวนาเรื่องเล่าต่างๆ จากคนท้องถิ่นที่เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมกิจกรรมวิชาการเปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมได้ ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่ต้องสำรองที่นั่ง

3 พฤศจิกายน

- พิพิธภัณฑ์ไร้กำแพงเมืองจอร์จทาวน์, ปีนัง : พลังชุมชนกับการสร้างตัวตนทางวัฒนธรรม
- พระกับการบริหารพิพิธภัณฑ์ในวัด
- นักวิชาการกับงานสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมในท้องถิ่น
- เชิญชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากกลุ่มไทยทรงดำ จ.เพชรบุรี

4 พฤศจิกายน
- ปาฐกถาพิเศษ "ทัศนะ 20 ปี นักวิชาการมองชุมชนท้องถิ่นผ่านงานพิพิธภัณฑ์" โดย รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม - ทำเองได้ง่ายจัง "เล็กๆน้อยๆที่พิพิธภัณฑ์ทำเองได้"
- พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในญี่ปุ่น : เน้นพิพิธภัณฑ์โรคมินามาตะ- ทำอย่างไรให้เด็กสนใจและสนุกกับงานพิพิธภัณฑ์
- การหวนคืนสู่ถิ่นและพัฒนาการของรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชนพื้นเมือง กรณีพิพิธภัณฑ์ชุมชนในออสเตรเลีย
- เรื่องเล่าจากสนาม "การออกแบบนิทรรศการที่เจ้าของพิพิธภัณฑ์มีส่วนร่วม"
โดย คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล (พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง จ.ลำปาง) คุณวิรัตน์ น้อยประชา (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด จ.นครปฐม) [ชาวบ้านกับนักออกแบบร่วมกันคิด ร่วมกันจัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ของชุมชน]
- เสวนาหน้าโรง "ความเหมือนที่แตกต่าง : หนังตะลุง หนังใหญ่"
- เชิญชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมหนังตะลุงจาก 2 ศิลปินแห่งชาติ นายหนังสุชาติ ทรัพย์สิน และนายหนังนครินทร์ ชาทอง

5 พฤศจิกา
- ก้าวไปข้างหน้า พิพิธภัณฑ์กับการตลาดและการสร้างแบรนด์
- ของเก่าฟื้นความหลัง : เคียวกับเรื่องเล่าชีวิตคนทำนา
- ใครก็ทำได้ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานพิพิธภัณฑ์"
- ทำเองได้ง่ายจัง "นิทรรศการเล่าเรื่องจากภาพถ่าย"
- Are you a keeper? ชมภาพยนตร์ชวนเสวนากับผู้ชม "คนเก็บของเก่าเล่าเรื่องของ สื่อสะท้อนประวัติศาสตร์"

คลิกดูรายละเอียด

..................
C :
นิทรรศการ “คนกับของ”
ชั้น 1 โซน “ของในชีวิต”
สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการดำรงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ของที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่อยู่รอบตัวเราทั้งในบ้าน ใต้ถุน ท้องนา ไร่ สวน สิ่งของเหล่านี้กำลังจะผุกร่อนเสื่อมสลาย หรือเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบันอย่างรวดเร็ว

ชั้น 2 โซน “คนกับความรื่นรมย์”
วัตถุสิ่งของที่คนทำขึ้นเพื่อความผ่อนคลาย สนุกสนาน สร้างอารมณ์เบิกบานรื่นรมย์ อาจเป็นมหรสพการแสดง หรืองานศิลปะ ประดิษฐ์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความประณีต น่ารัก หรือสิ่งของประดับตกแต่ง สิ่งของที่มีคุณค่าทางสุนทรีย์ ความสวยงาม

ชั้น 3 โซน “ของในความทรงจำ”
วัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องในเชิงประวัติศาสตร์ หรือความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น พื้นที่ภูมิศาสตร์ รวมทั้งเหตุการณ์ที่สะท้อนภาพในอดีตที่เคยเป็น และสิ่งของที่เคยมีในสังคมชุมชน แสดงถึงความเปลี่ยนแปลง

ชั้น 4 โซน “คนกับความหลากหลาย”
นอกจากสิ่งของต่างๆที่คนคิดผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว สิ่งของเหล่านี้ยังแฝงถึงอัตลักษณ์เฉพาะตัวของคนบางกลุ่มที่รับสืบทอดต่อเนื่องกันมา กลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างและปรากฏอยู่ทั่วไปในประเทศ แสดงถึงสังคมไทยที่มีความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรมและประเพณี ความเชื่อ
..................
เสาร์ 25
ตุลา 51

ข่าวพิพิธภัณฑ์ในลำปาง "ข่าวสาร พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงปีที่ 3 ฉบับที่ 12/2551"


วัดไหล่หินหลวง อ.เกาะคา
ที่มาภาพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
http://www4.sac.or.th/museumdatabase/show_slide.php?get_id=34-012&file=34-012.JPG



อาคารพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง
ที่มาภาพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
http://www4.sac.or.th/museumdatabase/show_slide.php?get_id=34-012&file=34-012.JPG


ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
ที่มาภาพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
http://www4.sac.or.th/museumdatabase/show_slide.php?get_id=34-012&file=34-012.JPG

ความหวังอย่างหนึ่งของการจัดตั้ง "หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง" นั้น มิเพียงแต่จะเป็นการอธิบายประวัติศาสตร์และความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมแล้ว การเป็นหน่วยการเชื่อมโยงเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดลำปางก็ควรจะทำหน้าที่ในบทบาทนี้เช่นกัน ดังในเว็บบล็อกนี้ได้ทำการเปิดหน้า Lampang Museum Network

พื้นที่ต่อจากนี้เป็นการนำเอาการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จไม่น้อย แต่ไม่สู้เป็นที่รู้จักในวงกว้างนัก พิพิธภัณฑ์แห่งนั้นคือ "พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง" อ.เกาะคา นั่นเอง
...............
ข่าวสาร พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงปีที่ 3 ฉบับที่ 12/2551
โดย พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ร่วมกับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

...น้ำอบน้ำหอมตี้ว่าหอมเต้าใด บ่อมีหอมเต้าน้ำใจ๋ของคนบ้านเฮา...

ข่าวสารพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงฉบับที่ 11 ก็มาถึงอีกครั้งและใช้เวลานานพอสมควรที่ข่าวสารมาพูดคุยเล่าเรื่องราวกันอีกครั้งด้วยภาระและหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ที่มีมากขึ้นทั้งในชุมชนและนอกชุมชนแต่กระนั้นก็ตามเพื่อประโยชน์ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ที่มีใจรักเหมือนกันและต่อสู้กับอุปสรรคทางธรรมชาติที่รุกเร้าต่อการทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ของวัดไหล่หินหลวง ที่ตัวไม่ให้แต่แฝงด้วยฤทธิ์ร้ายเหลือคนานับ เป็นสิ่งที่บางครั้งเรามองไม่เห็น แต่รู้ตัวอีกทีก็เกือบสายไป นั่นก็คือ ปลวกนั่นเอง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างปัญหาต่อการทำงานด้านพิพิธภัณฑ์มากนัก แต่กลับเป็นวิตามินที่แต่งเติมพลังทางสมองของชุมชนให้มีการระวังมากยิ่งขึ้น หาทางป้องกันทบทวนขั้นตอนการทำงานครั้งที่ผ่านมา แต่คงมีอีกหลายๆที่ที่มีปัญหาเหมือนกับเรา เพราะฉะนั้นเราชาวไหล่หินต้องสู้ต่อไปเพื่อบรรพบุรุษของเราที่สั่งสมเรื่องราว ความรู้สึก สิ่งก่อสร้าง โบราณสถานและตำนานไว้ให้เรารักษาและสืบทอดเจตนาต่อไป

มาถึงตรงนี้พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวงของเราที่ผ่านมาได้มีโอกาสต้อนรับผู้มาเยือนกันหลายคณะด้วยกัน เป็นความรู้สึกยินดีที่ได้ต้อนรับผู้ที่สนใจในการทำงานของพวกเราที่ไม่ได้เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์วัดดั่งที่คนทั่วไปมองและเคยพบมา แต่เราเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้บริการด้านต่างๆ สำหรับบุคคลภายนอกที่สนใจในตัวตนของคนไหล่หิน เพราะเป้าหมายของพวกเราไม่ได้หวังให้มีคนมาที่นี่เป็นร้อยเป็นพัน แต่เราหวังให้ลูกหลานของเราเห็นและเรียนรู้ในสิ่งที่เรากำลังทำและช่วยกันรักษาอย่างไม่มีวันรู้จบ

ในปีนี้งานตานก๋วยสลากบ้านเรารู้สึกคึกคักเป็นพิเศษ เพราะว่าปีนี้เส้นสลากมากกว่าปีที่แล้วคือ 4,035 เส้น มากกว่าปีที่แล้วเกือบสามร้อยเส้น และยอดปัจจัยที่ทำบุญท้องสะเปาก็มากกว่า สิ่งเหล่านี้บอกอะไรกับพวกเราบ้าง สภาพเศรษฐกิจบ้านไหล่หินดีหรืออย่างไรคิดถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปมากกว่าปีที่ผ่านมา หรือผู้คนบ้านเราและใกล้เคียงหันมาใส่ใจเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นกันมากขึ้น จากผลที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นว่า เรื่องวัฒนธรรมหรือเรื่องราวที่เราช่วยกันทำนั้นได้เข้าไปในสำนึกว่า ไม่ได้เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เป็นหน้าที่ของคนไหล่หินที่ต้องช่วยกัน สร้างบทบาทและหน้าที่ของตนขึ้นมาด้วยตนเอง เพื่อรักษารากเหง้าทางวิถีชีวิตและทางวัฒนธรรมประเพณีให้คงอยู่ต่อไป

ท้ายนี้อีกไม่นาน สวดเบิกบ้านเราก็จะมาถึงอีกครั้งหนึ่งและ ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้พิพิธภัณฑ์ก็จะนำวัตถุโบราณ สิ่งของบางอย่างนำไปร่วมงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ เมื่อถึงเวลานั้นจะนำเรื่องราวมาเล่าให้พวกเราอีกครั้ง สวัสดี

สนับสนุนการจัดทำข่าวสารโดย...อบต.ไหล่หิน
...............
สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่
http://www.sac.or.th/web2007/watlaihin/2551-12-3.pdf

นอกจากนั้นยังมีข่าวสารฉบับย้อนหลัง ดาวน์โหลดได้ดังนี้
: ปีที่ 3 ฉบับที่ 11/2551
: ปีที่ 3 ฉบับที่ 10/2551
: ปีที่ 3 ฉบับที่ 9/2550
: ปีที่ 3 ฉบับที่ 8/2550
: ปีที่ 2 ฉบับที่ 6/2549
ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่ 5/2549
ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่ 4/2548
ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่3/2548
ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่2/2548
ข่าวสารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดไหล่หินหลวง ฉบับที่1/2548
...............
เสาร์ 25
ตุลา 51