งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน (เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่ 1 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม วันที่ 24-26 ตุลาคม 2546

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Muse Mobile นิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ จาก มิวเซียมสยาม มาลำปางแน่ สิงหาคม-กันยายนศกนี้

ภาพบริเวณทางเข้านิทรรศการ Muse Mobile

ผังการจัดงานเืบื้องต้น

รูปด้านข้างของการจัดนิทรรศการ

ตู้ที่ 1 "เราคือใคร" Thai DNA

ตู้ที่2 ปริศนาสุวรรณภูมิ "ไขปริศนา คนไทยมาจากไหน"
ตู้ที่3 สยามเก่า-ใหม่ "ทางแพร่งความเป็นไทย"

ตู้ที่4 "ประเทศไทย" ความหลากหลายที่ไม่หยุดนิ่ง

ตู้ที่4 "ประเทศไทย" ความหลากหลายที่ไม่หยุดนิ่ง
ภาพและข้อมูลมา ได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ของมิวเซียมสยาม

ข่าวที่เคยแจ้งไว้ว่าลำปางจะได้เงินกว่า 150 ล้านบาทเพื่อใ้ช้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของลำปาง ได้เข้ามาใกล้ความเป็นจริงมาทุกขณะ เมื่อสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้มี โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 โดยเลือกลำปางเป็นจังหวัดนำร่องแห่งแรก ที่จะเริ่มจัดแสดงในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ คาดหมายว่าคงจะเป็นบริเวณสวนสาธารณะห้าแยกหอนาฬิกา เทศบาลนครลำปาง ในช่วงเวลาดังกล่าวก็คงจะเป็นการเปิดตัวโครงการที่มิวเซียมสยามจะผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางอย่างเป็นทางการไปในตัว

ภาพด้านบนเป็นภาพร่างของบรรยากาศในการจัดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ จาก มิวเซียมสยาม ที่มีชื่อเรียกง่ายๆว่า Muse Mobile หรือพิพิธภัณฑ์ติดล้อ

รายละเอียดของโครงการสรุปย่อได้ดังนี้
...................
โครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

หลักการและเหตุผล
ด้วยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) อันเป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
(องค์การมหาชน) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียน
รู้รูปแบบใหม่ที่จะบ่มเพาะเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นผู้ใฝ่รู้ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
ไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

สถาบันฯ ได้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งที่ 1 หรือ มิวเซียมสยาม และได้เปิดให้บริการความรู้สู่สาธารณะ
อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา โดยผลตอบรับจากการเปิดดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 11
เดือนนั้นเป็นที่น่าพอใจ มีผู้เข้าชมมิวเซียมสยามมากกว่า 200,000 คน โดยหากแยกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เด็กและเยาวชน จะมี
จำนวนกว่า 1.2 แสน คิดเป็นร้อยละ 60 ของจำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด จากการศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพบว่าเด็กและเยาวชนดัง
กล่าวส่วนใหญ่มาจากพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ดังนั้นเพื่อให้พื้นที่แห่งการเรียนรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการและกิจกรรมที่มีความทันสมัย สามารถรองรับการเรียนรู้ได้อย่าง
สนุกสนานและเพลิดเพลิน ตามแนวคิดและปรัชญาของสถาบันฯ ได้เผยแพร่ออกสู่ทุกภูมิภาค และมุ่งตรงเข้าหาเด็ก เยาวชน รวมทั้งประชาชน
ทั่วไป สถาบันฯ จึงได้ดำเนินการโครงการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ระยะที่ 1 หรือ Muse Mobile ขึ้นเพื่อ
เป็นการนำร่องการสัญจรของพื้นที่ใหม่แห่งการเรียนรู้สู่ทุกภูมิภาคของประเทศ

ด้วยหวังว่าการสัญจรของนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ Muse Mobile ดังกล่าวจะเป็นต้นแบบของการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ใหม่ที่เคลื่อนที่ให้เกิดในสังคมไทย อันจะนำมาซึ่ง
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้เนื้อหาในการนำเสนอผ่านนิทรรศการและกิจกรรม
การเรียนรู้เคลื่อนที่ดังกล่าวจะอยู่ในหัวข้อ “เรียงความประเทศไทย” เช่นเดียวกับ นิทรรศการถาวร มิวเซียมสยาม เพื่อเป็นการบอกเล่าเรื่อง
ราวความเป็นมาของประเทศไทยและคนไทยให้กับผู้คนทั้งประเทศ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงประเด็นดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอแนวคิดและปรัชญาของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารผ่านชุดนิทรรศการและกิจกรรมการ
เรียนรู้เคลื่อนที่สัญจรสู่เด็กและเยาวชน
2.เพื่อเปิดเวทีและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและความเพลิดเพลินสู่ภูมิภาค อันเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้
ให้กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล
3.เพื่อบ่มเพาะคนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ สร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่ง
การเรียนรู้
4.เพื่อนำเรื่องราวและประเด็นสำคัญของ ชุดนิทรรศการถาวรเรียงความประเทศไทย มานำเสนอเป็นองค์ความรู้สำคัญของชาติ เพื่อสร้างแนว
คิดและมุมมองต่อคนไทยและประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี บนหลักการของเหตุและผล และความดีงาม อันจะนำมาสู่
ความรักและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

กลุ่มเป้าหมาย
1.กลุ่มเป้าหมายหลัก เด็กและเยาวชนไทย
2.กลุ่มเป้าหมายรอง ประชาชนทั่วไป

แนวคิดในการจัดทำนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile)
1.แปลก ใหม่ ทันสมัย ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน
2.ประกอบด้วย ชุดนิทรรศการและกิจกรรมประกอบเพื่อการเรียนรู้ในเชิง Hands-on และInteractive อย่างครบถ้วน
สมบูรณ์
3.เคลื่อนย้ายได้สะดวก บนพื้นฐานความประหยัด
4.บริหารจัดการได้ภายใต้กำลังคนและงบประมาณที่เหมาะสม
5.สามารถติดตั้งได้ในทุกพื้นที่
6.ใช้สถาปัตยกรรม ตู้คอนเทนเนอร์และสถาปัตยกรรมเต็นท์เป็นรูปแบบและแนวทางหลักในการออกแบบจัดทำเพื่อเน้นความเป็น
Landmark ของจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ชุดนิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ (Muse Mobile) ระยะที่ 1 ในหัวข้อ “เรียงความประเทศไทย” สัญจร
ที่สอดคล้องกับแนวคิดการเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ สนุกสนาน รื่นรมย์และสร้างสรรค์ของสถาบันฯ
2.นิทรรศการและกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่ “เรียงความประเทศไทย” สัญจร จะเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่แนวคิดและปรัชญา
ของสถาบันฯ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยปลุกกระแส Muse Mobile ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ
3.บุคลากรของสถาบันฯ ได้รับความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในการพัฒนาเนื้อหา ออกแบบ จัดซื้อ จัดหาและก่อสร้างนิทรรศการ
และกิจกรรมการเรียนรู้เคลื่อนที่จากการทำงานร่วมกันกับที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่หลากหลาย ในลักษณะของ On The Job
Training
4.สามารถบ่มเพาะให้คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นผู้ใหญ่ที่ใฝ่รู้ อันจะนำมาสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการสร้างสังคมแห่งการ
เรียนรู้ มีความเข้าใจถึงความหลากหลาย การหลอมรวมและมีสำนึกถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในภูมิภาคสุวรรณภูมิแห่งนี้
...................
สายสืบหอศิลป์
พฤหัส 18
มิถุนา 52

สภาเทศบาลนครลำปาง อนุมัติเงิน 8 ล้านทำพิพิธภัณฑ์เมืองบริเวณข่วงนคร



ตามที่ได้มีการประชุมสภาเทศบาลนครลำปาง สมัยสามัญ สมัยที่ 2 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 มีเรื่องสำคัญที่สภาเทศบาลได้พิจารณา คือ โครงการถนนไร้ฝุ่น และพิพิธภัณฑ์เมืองนครลำปาง

สภาเทศบาลยังได้อนุมัติให้เทศบาล จัดทำพิพิธภัณฑ์นครลำปาง อีก 8 ล้านบาท เพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เก็บเรื่องราว หลักฐาน ความเป็นมาของเทศบาลนครลำปาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์การก่อตั้งและพัฒนาการของเทศบาล เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ของประชาชน ซึ่งหากไม่ดำเนินการเรื่องนี้ไว้ หลักฐาน เรื่องราวหรือสิ่งที่มีคุณค่าเกี่ยวกับนครลำปางก็จะถูกลืมเลือน คนรุ่นหลังก็จะไม่มีโอกาสได้รับรู้ใดๆเกี่ยวกับเทศบาล ทั้งที่เทศบาลมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตของประชาชนอย่างมากมาย ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองขึ้นมา เพื่อเก็บหลักฐานและสิ่งสำคัญที่มีคุณค่าของเมืองไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา เรียนรู้ต่อไป

ข้อมูลจาก

สายสืบหอศิลป์
พฤหัส 18
มิถุนา 52

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บทความพิเศษ : พิพิธภัณฑ์เมืองกลางข่วงนคร การเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของท.นครลำปาง

จาก ลานนาโพสต์ออนไลน์
ฉบับที่ 721 วันที่ 5 - 11 มิถุนายน 2552

http://www.lannapost.net/newsspacial-1.htm

หากกล่าวถึงคำว่าพิพิธภัณฑ์คนไทยอีกหลายคนคงยังไม่ทราบความหมายว่าแท้จริงแล้ว พิพิธภัณฑ์นั้นหมายถึงอะไร สำหรับความหายของพิพิธภัณฑ์ตามที่ สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM (International Council of Museums) ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้วว่า “พิพิธภัณฑ์” คือ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร เป็นสถาบันที่ถาวรในการรวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย สื่อสาร และจัดแสดงนิทรรศการ ให้บริการแก่สังคมเพื่อการพัฒนา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าการศึกษา และความเพลิดเพลิน โดยแสดงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อม สิ่งซึ่งสงวนรักษาและจัดแสดงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุ แต่ได้รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วยโดยรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่สงวนสัตว์น้ำ และสถานที่อันจัดเป็นเขตสงวนอื่นๆ รวมทั้งโบราณสถานและแหล่งอนุสรณ์สถาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง

จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของพิพิธภัณฑ์นั้นกว้างมาก ครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งได้หลายแบบและบางแห่งก็จัดได้หลายประเภท เช่น 
1) แบ่งตามการสะสมรวบรวมวัตถุ ( Collection) 
2) แบ่งตามต้นสังกัดหรือการบริหาร เช่น พิพิธภัณฑ์ของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย 
3) แบ่งตามลักษณะของผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป หรือ
4) แบ่งตามการจัดแสดง เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ฯลฯ

สำหรับพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แบ่งตามการจัดแสดง และวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการจัดแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบัน คือ

1.พิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป จะรวบรวมวัตถุทุกประเภท และทุกเรื่องเอาไว้ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์แบบแรกก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่องในสมัยต่อมา

2.พิพิธภัณฑสถานศิลปะ จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุทุกประเภท โดยจะแยกย่อยออกเป็น พิพิธภัณฑสถานศิลปประยุกต์ แสดงวัตถุที่เป็นงานฝีมือ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หอศิลป์ แสดงงานศิลปะประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม, พิพิธภัณฑสถานศิลปะสมัยใหม่จะคล้ายกับหอศิลป์ แต่จะเป็นศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินร่วมสมัยในยุคหลัง, พิพิธภัณฑสถานศิลปะประเภทการแสดง และพิพิธภัณฑสถานศิลปะแรกเริ่ม แสดงงานศิลปะดั้งเดิมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

3.พิพิธภัณฑสถานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหาหลักคือแสดงวิวัฒนาการความก้าวหน้าของวัตถุที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น

4.พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จัดแสดงเรื่องราวของธรรมชาติเกี่ยวกับเรื่องของโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆ และยังรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ-สัตว์บกด้วย

5.พิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แยกย่อยได้เป็นพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเมือง ทหาร สังคม และเศรษฐกิจ, บ้านประวัติศาสตร์ คือการนำเสนอสถานที่ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีต, โบราณสถาน, อนุสาวรีย์ และสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงเมืองประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์โบราณคดี

6.พิพิธภัณฑสถานชาติพันธุ์วิทยาและประเพณีพื้นเมือง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ในทางวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์และชาติพันธุ์ต่างๆ แบ่งออกเป็น พิพิธภัณฑสถานพื้นบ้าน (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) โดยจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง เป็นการจำลองภาพในอดีตด้วยการนำอาคารเก่า หรือจำลองสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาไว้ในบริเวณเดียวกัน โดยพยายามสร้างสภาพแวดล้อมรวมถึงบรรยากาศให้เหมือนเช่นในอดีต

ในส่วนของจังหวัดเอง เทศบาลนครลำปางได้มีแนวคิดที่จะจัดทำพิพิธภัณฑ์ขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งจะจัดทำออกมาเป็นพิพิธภัณฑ์ผสมผสานระหว่างเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวของสถาบันชาติพันธุ์ และเรื่องราวการแสดงศิลปะต่างๆ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นการเริ่มต้นความฝันของคนลำปางที่จะได้มีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ในเขตเทศบาลนครลำปาง โดยพิพิธภัณฑ์เมือง เทศบาลนครลำปาง จะตั้งอยู่บริเวณข่วงนครห้าแยกหอนาฬิกา มีการจัดแสดงถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเทศบาลนครลำปางตั้งแต่ยุคสมัยแรก รวมทั้งนำเสนอเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลนครลำปาง ซึ่งเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 52 ที่ผ่านมา เทศบาลได้นำญัตติเรื่องขออนุมัติใช้จ่ายเงินสะสมของเทศบาลนครลำปาง เพื่อปรับปรุงภายในอาคารสำนักงานเทศบาลนครลำปางเป็นหอเกียรติยศ เข้าสภาเทศบาลนครลำปางแล้ว จำนวน 8 ล้านบาท โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากสมาชิกสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะนำงบประมาณดังกล่าว มาเริ่มใส่เรื่องราวต่างๆลงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

นายนิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวถึงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เมือง เทศบาลนครลำปางว่า ความฝันของคนลำปาง ทั้งกลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิชาการ กลุ่มวัฒนธรรม รวมถึงกลุ่มอนุรักษ์นครลำปาง กลุ่มฮอมแฮงแป๋งนครลำปาง เริ่มจะเป็นความจริงมากขึ้น เมื่อนายกเทศมนตรีนครลำปาง ได้ผลักดันให้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์เมืองนครลำปางขึ้น โดยใช้อาคารบริเวณข่วงนคร โดยที่นำเสนอญัตติขอจ่ายเงินสะสมจำนวน 8 ล้านบาท เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์เมืองนครลำปาง ซึ่งเป็นแนวนโยบายของตนที่จะส่งเสริมและสร้างสรรค์คุณค่าของมรดกวัฒนธรรมของลำปาง ในฐานะที่ลำปางเป็นเมืองเก่า และมีร่องรอยของอดีตที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด รัฐบาลเคยประกาศให้จังหวัดลำปางเป็น 1 ใน 10 ของจังหวัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศไทย 

โดยที่โครงการพิพิธภัณฑ์นี้ ได้ใช้อาคารส่วนหน้าของเทศบาลที่เป็นส่วนหนึ่งของข่วงนคร ซึ่งเป็นสำนักงานทะเบียนเก่าที่กำลังจะได้รับการตกแต่งปรับปรุงภูมิทัศน์รูปแบบของอาคารใหม่ ให้เป็นรูปแบบอาคารสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ให้เป็นอาคารที่สง่างาม โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ 2 ชั้น และจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีในการเล่าเรื่อง รวมทั้งมีเทคนิคสมัยใหม่ต่างๆในการนำเสนอเรื่องราวที่สนุกสนานแปลกหูแปลกตา เต็มไปด้วยสาระข้อมูลที่มีชีวิตชีวา ไม่เหมือนกับพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นๆที่มีเพียงสิ่งของวางตั้งไว้ และมีเพียงข้อความให้ผู้คนได้อ่านและเดินดู 

แต่พิพิธภัณฑ์ที่จะสร้างขึ้นนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวา ใช้สื่อผสมผสานหลากหลายเมื่อเข้าไปชมแล้วจะได้เพลิดเพลิน สามารถเรียนรู้ได้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมา ตลอดจนวัฒนธรรมของบ้านเมืองลำปาง ตั้งแต่สมัยเขลางค์นครยุคที่ 1 ยุคจามเทวี ยุคที่ 2 ยุคปงสนุก ยุคที่ 3 ยุครัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนถึงยุคปัจจุบัน ตลอดถึงเรื่องราวการจัดตั้งเทศบาล ความเป็นมาต่างๆ 

นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังมีส่วนที่จะจัดให้มีการแสดงของดีเมืองลำปาง หรือเรียกว่าพิพิธภัณฑ์หมุนเวียน เช่น มีการจัดแสดงของโบราณวัตถุของลำปางต่างๆ การจัดแสดงประเพณีวัฒนธรรม จัดแสดงเซรามิก จัดแสดงงานศิลปะ จัดแสดงงานไม้ฯลฯ เป็นระยะหมุนเวียนกันตลอดปี ในส่วนนี้จะทำให้เกิดความเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนนักศึกษาที่จะเข้ามาศึกษาหาความรู้เรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนครลำปาง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับผู้คนชาวลำปางที่จะได้รู้รากเหง้า และสิ่งดีๆที่มีอยู่ในนครลำปาง และจะเป็นอีกจุดหนึ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดลำปางมากขึ้น

สำหรับความคืบหน้าของพิพิธภัณฑ์เทศบาลนครลำปางขณะนี้สภาเทศบาลได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจำนวน 8 ล้านบาทแล้ว หลังจากนี้จะได้มีการคัดเลือกหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในการจัดทำพิพิธภัณฑ์มาเป็นที่ปรึกษา เขียนโครง ศึกษาหาข้อมูลต่างๆ เพราะการจัดทำตรงนี้ต้องการจะได้คนที่มีความรู้และมีประสบการณ์ทางด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในกรอบเวลาคาดว่ารวมเบ็ดเสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 53 จะเสร็จสมบูรณ์ และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในเดือนมีนาคม 53 นี้ นายนิมิตร กล่าว

และนอกจากนายกเทศมนตรีนครลำปาง จะได้ผลักดันให้มีพิพิธภัณฑ์เมืองของเทศบาลนครลำปางแล้ว เทศบาลนครลำปางยังได้มีการผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของจังหวัดลำปางต้องการจะให้เกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งนายนิมิตร ได้กล่าวว่า ขณะเดียวกันสิ่งที่ทางภาคประชาชนต่างๆ รวมทั้งภาควิชาการและภูมิปัญญาได้รณรงค์ให้เกิดหอศิลปวัฒนธรรม และได้มีการทำกิจกรรมมาบ่อยครั้งและอย่างต่อเนื่องที่บริเวณศาลากลางหลังเก่า และต้องการอาคารในที่บริเวณนั้นให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรม ซึ่งได้มีความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง 

เช่นเดียวกันกับเทศบาลนครลำปางที่เคยได้ประสานงานกับภาคเอกชน และจังหวัดลำปาง โดยนายกเทศมนตรีนครลำปางได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางสมัย นายอมรทัต นิรัติศยกุล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อจะขอรับพื้นที่อาคารศาลากลางหลังเก่ารวมทั้งบริเวณที่ตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้แก่ ศาลหลักเมือง พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ(หลวงพ่อดำ) มาอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาล 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะใช้อาคารศาลากลางหลังเก่ามาจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์กลาง เพื่อจัดรวมเรื่องราวของจังหวัดลำปางทั้งหมด ตั้งแต่สมัยหลายหมื่นพันปี เช่น มนุษย์เกาะคา ภาพเขียนสีประตูผาฯลฯ รวมทั้งเพื่อจะปรับภูมิทัศน์ใหม่ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์กลางของเมืองที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองของเทศบาลนครลำปาง แต่ปัจจุบันได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปหมดแล้ว ทั้งตลาดเทศบาล ปัญหานก และต้นไม้บริเวณนั้นก็เสื่อมสภาพไปหมด ความสง่างามของกลางเมืองก็ขาดหายไป 

จึงอยากจะมีการจัดระเบียบและปรับปรุงให้สวยงาม เพื่อสอดคล้องกับตลาดเทศบาลที่จะสร้างใหม่เป็นแนวเดียวกัน จะได้กลายเป็นจัตุรัสเมืองที่มีความสง่างาม ความคึกคัก และเป็นศูนย์กลางของประชาชนที่จะเข้ามาจับจ่ายใช้สอย แต่หลังจากนั้นมาก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากจังหวัด จนกระทั่งเปลี่ยนผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นนายดิเรก ก้อนกลีบ จึงได้นำเรื่องนี้กลับมาคุยกันอีกครั้ง แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการใดๆ ผู้ว่าฯดิเรกก็ย้ายไปอยู่ จ.ลำพูน โดยมีนายอมรพันธุ์ นิมานันท์ มาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางต่อ และก็ได้มีการคุยถึงเรื่องนี้ แต่ผู้ว่าฯอมรพันธุ์ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ จ.เชียงใหม่อีก

จนในที่สุดน่าจะเป็นข่าวดีของคนลำปางว่าสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน โดยพลเรือเอกธนิต กิตติอำพล เป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้เคยมาที่จังหวัดลำปางหลายครั้งและเคยคุยกับคนลำปางเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ตรงนี้ จึงได้มีความคิดเห็นว่าที่จังหวัดลำปางก็มีความเหมาะสมที่จะจัดทำพิพิธภัณฑ์ระดับมาตรฐานขึ้นมาเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ได้ สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ จึงได้ทำโครงการเข้าเสนอรัฐบาลว่าจะจัดทำพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ขึ้นที่จังหวัดลำปาง 

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาพลเรือเอกธนิต ได้เดินทางมาที่เทศบาลนครลำปาง เพื่อปรึกษาหารือในเรื่องดังกล่าว และได้เข้าพบกับนายสามารถ ลอยฟ้า รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบว่าสถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รับอนุมัติโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่จังหวัดลำปางในวงเงิน 155 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในเร็วๆนี้ 

การที่มาพบกับรองผู้ว่าฯในครั้งนี้ เพื่อเป็นการขอทราบความแน่ชัดว่าจังหวัดจะมอบพื้นที่บริเวณศาลากลางหลังเก่าให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หรือไม่ ซึ่งหลังจากพูดคุยปรึกษากันแล้ว รองผู้ว่าฯได้เห็นด้วยในหลักการและจะนำเข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ในหลักการว่าจะมอบสถานที่ศาลากลางหลังเก่าให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้หรือไม่ และหลักการว่าจะมอบให้เทศบาลนครลำปางได้ดูแลพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ ทั้งนี้ จะต้องมีการพูดคุยกับคณะกรรมการฯ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ซึ่งขณะนี้มีพร้อมทั้งสถานที่และงบประมาณแล้ว ถ้าหากพูดคุยตกลงกันได้ก็พร้อมที่จะสร้างได้ในทันที

สำหรับเรื่องราวที่จะบอกกล่าวอยู่ในพิพิธภัณฑ็นั้น สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ จะต้องเข้ามาในพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณคดี ข้อมูลจากภูมิปัญญาผู้เฒ่าผู้แก่ การบอกเล่าหรือการค้นคว้าทางวิชาชน ซึ่งลำปางมีเรื่องราวมากมายที่จะนำเสนอ ไม่ใช่เฉพาะในเขตเทศบาลนครลำปาง แต่จะเกี่ยวเนื่องไปในทุกๆ 13 อำเภอทั่วจังหวัดลำปาง นายนิมิตร กล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งสะสมความรู้ และมีบทบาทหน้าที่ ที่ต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กรและสถาบันมากมาย อีกทั้งตัวของพิพิธภัณฑ์เองยังมีหน้าที่สะสมศิลปวัตถุ และจัดแสดงเผยแพร่แก่ประชาชนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ต่างๆ จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการเพื่อการศึกษาต่างๆ พร้อมทั้งต้องหาทุนเพื่อมาใช้จ่ายภายในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งขณะนี้จังหวัดลำปางมีงบประมาณที่รองรับในการก่อสร้างแล้วจำนวน 155 ล้าน จากสถาบันพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ 

ทั้งนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือและแรงผลักดันของทุกภาคส่วนที่จะช่วยกันทำให้พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของจังหวัดลำปางเกิดขึ้น โดยอนุรักษ์และพัฒนาอาคารศาลาว่าการจังหวัดลำปางเดิม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปของ "พิพิธภัณฑ์มีชีวิต" ที่จะให้ทั้งสาระความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภายใต้เนื้อหาของคนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หากโครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น คาดว่า "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้" แห่งใหม่นี้ จะแล้วเสร็จในปี 2553 ทั้งนี้ คงจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวลำปางไม่น้อยเลยทีเดียว

แต่ก่อนที่คนลำปางจะได้เชยชมกับพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้จังหวัดลำปาง คนลำปางก็ยังมีโอกาสที่จะได้ชื่นชมกับพิพิธภัณฑ์เมือง เทศบาลนครลำปางก่อนได้ในประมาณเดือนมีนาคม 2553 นี้ ซึ่งจะเป็นแหล่งการศึกษาหาความรู้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง
..................
สายสืบหอศิลป์
เสาร์ 6
มิถุนา 52