งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน (เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่ 1 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม วันที่ 24-26 ตุลาคม 2546

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายละเอียดงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาครั้งที่1 ชุด "กว่าจะถึงวันนี้"


แผ่นพับด้านหน้าแสดงรายละเอียดการจัดงาน


แผ่นพับด้านหลังแสดงประวัติศิลปินผู้แสดงงาน


บริเวณทางเข้าศาลาวัฒนธรรม ภายในสวนสาธารณะเขลางค์นคร


บรรยากาศภายในห้องจัดแสดงงาน

บรรยากาศภายในห้องจัดแสดงงาน


บรรยากาศภายในห้องจัดแสดงงาน


ตารางกิจกรรม

งานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาครั้งที่1 ชุด "กว่าจะถึงวันนี้"
จัดวันที่ 30 พ.ย. 2551-31 ม.ค. 2552
เวลา 10.00 น. - 19.00 น.
ณ ศาลาวัฒนธรรม สวนสาธารณะเขลางค์นคร
จัดโดย เทศบาลนครลำปาง กลุ่มสล่าเขลางค์ และบ้านม่อนเขาแก้ว

นอกเหนือจากกลุ่มสล่าเขลางค์อันเป็นที่รู้จักแล้ว ในครั้งนี้ยังมีการร่วมแสดงจากบ้านม่อนเขาแก้ว อันเป็นหมู่บ้านที่มีทักษะฝีมือและแหล่งวัตถุดิบในหมู่บ้าน ณ หมู่ที่ 3 ต.พิชัย อ.เมือง ลำปาง

ไม่เพียงเท่านั้น บ้านม่อนเขาแก้วยังมีตัวแทนที่ได้ไปโชว์ฝีมือใน เทศกาลเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน 4 ประเทศ ที่จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2539 อีกด้วย

รายชื่อศิลปินที่ร่วมแสดงงานมีดังนี้
ลัดดา ทิสาระ(ม่อนเขาแก้ว), จงรักษ์ จิวกิตติศักดิ์กุล, รุ่งนภา ยืนยงวนานนท์, พิทักษ์ นิรภัย, นิติ ทุ่งมีผล, ดาราพร โสธนะวัฒนากุล, จิรศักดิ์ คลุมดวง, นิกร กาบเขียว, เรวัตร ไชยยารักษ์, อรรถเทพ สมัครธัญกิจ, สถาปนา บำรุงพืช, อุทัย เขนย, เรืองฤทธิ์ สมบูรณ์ และ ต่อศักดิ์ ประคำทอง
..............
สายสืบหอศิลป์
ศุกร์ 12
ธันวา 51

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

บรรยากาศงาน Party Very Lampang (1)


บรรยากาศก่อนเปิดงาน
มือคีย์บอร์ดบรรเลงขับกล่อมงาน
ฉากหนึ่งในทวิภพ
มาดูกันครับ บรรยากาศ Party Very Lampang
5-7 ธันวาคมนี้

ผ่านไป 2 วันมีนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนใจดี
ไปอัพโหลดคลิปไว้ใน YouTube ให้ครับ
มีอยู่ 2 การแสดงก็คือ
***การแสดงเต้น...โดย Blossom Blozza!!!Dance
http://www.youtube.com/watch?v=pSy5EQdgeB4

***ละครเวที "ทวิภพ" โดย ณ หนา
ช่วงแรก
http://www.youtube.com/watch?v=LUTGJQmdba0
ช่วงที่สอง
http://www.youtube.com/watch?v=IMs6ZTAJDfA
..........
ที่มาภาพและคลิปจากคุณ เบลล์ SOC ANT มช. ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
แล้วถ้ามีความคืบหน้าและอัพเดทเพิ่มเติม จะมานำเสนอในโอกาสต่อไปนะครับ

สายสืบหอศิลป์
อาทิตย์ 7
ธันวา 51

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ชวนเที่ยวงาน Party very LAMPANG ตอน "ก่อนลำปางจะหนาวมาก" 5-7 ธันวานี้


very Lampang ตอน "ก่อนลำปางจะหนาวมาก" 5-7 ธันวา 51 นี้


สุสานหิ่งห้อย(2531) ครบรอบ 20ปี


Porco Rosso(2535)


Howl's Moving Castle (2547)
ชวนเที่ยวงาน Party very LAMPANG ตอน "ก่อนลำปางจะหนาวมาก" 5-7 ธันวานี้
ณ ร้านม้าหมุน กาดกองต้า นครลำปาง
กำหนดการงาน 3 วัน
ศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2551

16.30 น. พิธีเปิดงาน และเริ่มเปิดงานให้คนเข้าชม
17.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ1 โดย Blossom Blozza
17.30 น. การแสดงละครเวที โดย ณ หนา
18.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ2 โดย Blossom Blozza
18.30 น. เสวนาอุ่นๆ เรื่องการทำภาพยนตร์อนิเมชั่น และสรรพเพเหระเรื่องหนัง โดย พี่ปอนด์ ดีโซน
20.00 น. เทศกาลภาพยนตร์อนิเมชั่น STUDIO GIBLI ต่อต้านความรุนแรงด้วยความรัก ฉายภาพยนตร์ เรื่อง สุสานหิ่งห้อย(2531)
*จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ลำป๊าง ลำปาง” [กิจกรรมยืนพื้น จัดแสดงตลอดงาน]
22.00 น. จบงานวันแรก
...................................................
เสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2551

17.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ1 โดย Blossom Blozza
17.30 น. วงดนตรีเยาวชน
18.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ2 โดย Blossom Blozza
18.30 น. เสวนาอุ่นๆ เรื่องการทำภาพยนตร์อนิเมชั่น และสรรพเพเหระเรื่องหนัง โดย พี่ปอนด์ ดีโซน
20.00 น. เทศกาลภาพยนตร์อนิเมชั่น STUDIO GIBLI ต่อต้านความรุนแรงด้วยความรัก ฉายภาพยนตร์ เรื่องPorco Rosso(2535)
*จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ลำป๊าง ลำปาง” [กิจกรรมยืนพื้น จัดแสดงตลอดงาน]
22.00 น. จบงานวันที่สอง
...................................................
อาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม 2551

17.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ1 โดย Blossom Blozza
17.30 น. วงดนตรีเยาวชน
18.00 น. การแสดงความสามารถด้วยการเต้น รอบ2 โดย Blossom Blozza
18.30 น. การแสดงดนตรีคลาสสิค จาก Piano Studio โดย ไวโอลิน เปียโนไฟฟ้า และเชลโล
19.00 น. เสวนาอุ่นๆ เรื่องการทำภาพยนตร์อนิเมชั่น และสรรพเพเหระเรื่องหนัง โดย พี่ปอนด์ ดีโซน
20.00 น. เทศกาลภาพยนตร์อนิเมชั่น STUDIO GIBLI ต่อต้านความรุนแรงด้วยความรัก ฉายภาพยนตร์ เรื่อง Howl's Moving Castle (2547)
*จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ลำป๊าง ลำปาง” [กิจกรรมยืนพื้น จัดแสดงตลอดงาน]
22.00 น. จบงาน
...................................................
สายสืบหอศิลป์
อาทิตย์ 30
พฤศจิกา 51
แก้ไข
อังคาร 2
ธันวา 51

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ชมนิทรรศการฯ ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ครั้งที่1 ชุด "กว่าจะถึงวันนี้" 30 พ.ย.51-31 ม.ค.52 นี้ที่สวนเขลางค์ฯ


สูจิบัตรงานแสดงนิทรรศการของกลุ่มสล่าเขลางค์ปี2546 ในงานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน(เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่1 ณ หอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง(อาคารศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม)

เทศบาลนครลำปาง และกลุ่มสล่าเขลางค์
ภูมิใจเสนอ

นิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น...ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ครั้งที่1
ชุด "กว่าจะถึงวันนี้"

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 - 31 มกราคม 2552
เวลา 10.00 - 19.00 น.

ณ ศาลาวัฒนธรรม สวนสาธารณะเขลางค์นคร
สนับสนุนโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ดำเนินการโดย ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานแม่เมาะ
.......................
ผู้สื่อข่าว
on Lampang :
เปิดโลกลำปาง

จันทร์ 24
พฤศจิกา 51

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เก็บบรรยากาศถนนคนเดินใหม่ล่าสุด ที่ถนนวังเหนือมาฝากกัน


รับศีลรับพรรับลมหนาวเมื่อเช้าวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ณ ถนนวังเหนือ


รถม้าจอดรอรับบริการในราคาพิเศษ 50 บาท


ตักบาตรเช้าแน่นขนัดไปด้วยผู้คนใต้ร่มไม้ใหญ่


อีกมุมหนึ่งของถนนวังเหนือ


กิจกรรมประกวดประดิษฐ์กระทงหลังตักบาตรเช้า


การแสดงของเยาวชนโรงเรียนเทศบาล


วงอังกะลุงจากโรงเรียนเทศบาล1 ควบคุมวงโดย ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม


เหล่านักแสดงรุ่นเยาว์รอคอยเวลา


การประกวดแข่งขันทำโคมของชุมชนภายในเขตเทศบาลนครลำปาง

ถนนสายดังกล่าวมีจุดเด่นอยู่ที่กู่เจ้าย่าสุตตา โบราณสถานสำคัญซึ่งในอดีตสันนิษฐานว่าเคยเป็นซุ้มประตูโขงของวัดกากแก้ว (ที่ปัจจุบันเหลือเพียงฐานของวิหารเท่านั้น) เป็นที่น่าเสียดายที่ปลายยอดได้หักทลายลง เดิมมีรูปปั้นเทวดาอยู่ทั้งสี่มุม ปัจจุบันเหลือเทวดาที่มีเค้าหน้าสมบูรณ์เหลืออยู่มุมเดียวแล้ว

เทศบาลทุ่มงบจัดทำถนนสายใหม่ให้สอดรับกับย่านเมืองเก่า และเร่งดำเนินการเพื่อเปิดใช้ในช่วงงานล่องสะเปาจาวละกอน 2551 เปิดใช้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ตอนเช้ามีพิธีตักบาตร และเปิดกาดหมั้ว พร้อมทั้งกิจกรรมประกวดฝีมือประดิษฐ์กระทงและการทำโคม

ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ถนนวังเหนือเป็นถนนสายที่ร่มรื่นแม้จะเข้าช่วงสายๆ ก็ยังมีร่มเงาไม้ใหญ่ให้หลบแดด ขณะที่บรรยากาศข้างทางก็มีลักษณะที่ค่อนข้างจะกลมกลืนกับความเป็นเมืองเก่า ทั้งยังได้จัดเตรียมพื้นที่นั่งพักสำหรับผู้มาเดินเที่ยวด้วย แต่ข้อสังเกตก็คือ แนวผนังก่ออิฐเหลี่ยมแหลมที่รบกวนการสัญจรและการเดินเข้าออก ทั้งยังไม่รองรับประโยชน์ใช้สอยเท่าที่ควร ข้อสังเกตอีกประการคือ การระบายน้ำของถนนวังเหนือที่ไม่ได้จัดเตรียมการระบายน้ำที่เหมาะสมไว้ ในอนาคตอาจจะประสบเหตุน้ำท่วมขัง และทำให้ถนนชำรุดก่อนเวลาอันควร
......................
สายสืบหอศิลป์

ศุกร์ 21
พฤศจิกา 51

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เก็บเรื่องมาเล่า เทศกาลพิพิธภัณฑ์ 3-5 พฤศจิกาที่ผ่านมา


ที่มา : http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=2147

ที่มาภาพ : คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล จากบ้านไหล่หิน


ที่มาภาพ : คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล จากบ้านไหล่หิน


ที่มาภาพ : คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล จากบ้านไหล่หิน


ที่มาภาพ : คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล จากบ้านไหล่หิน


ที่มาภาพ : คุณทรงศักดิ์ แก้วมูล จากบ้านไหล่หิน

เรื่องมีอยู่ว่าอ้ายสอง หรือคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ชาวไหล่หินเป็นผู้หนึ่งที่สนใจและเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยและผลักดันพิพิธภัณฑ์ไหล่หินให้เป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ ได้ติดต่อและส่งภาพบรรยากาศงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 3-5 พฤศจิกานี้ เลยนำเอาภาพบรรยากาศและคำอู้คำจ๋ามาฝากกันครับ
......................
คือว่าทั้งหมดมีพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดประมาณ80แห่ง จากหลาย ๆ ภาค ตางเหนือเฮาก้อมี..
โรงเรียนแจ้ห่ม วัดสะแล่งแพร่ หอนิทัศน์วัดศรีโคมคำพะเยา พิพิธภัณฑ์เสรีไทยแพร่ วัดร้องเม็งเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์ลาหู่ เจียงฮาย อันนี้มาสามที่เป๋นเครือข่ายชาวเขาที่เชียงราย เฉพาะภาคเหนือตอนบนก้อมีเต้าอี้แหละ ลืมไปมีแม่ฮ่องสอนอีกที่หนึ่ง...

บรรยากาศก้อม่วนขะหนาด รู้จักเครือข่ายนัก ตอนพักก้อไปพักที่วัดไร่ขิง นครปฐม พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดที่เข้าร่วมโครงการวิจัยกับไหล่หินเป๋นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารแลงกู้มื้อเลย นี่แหละน้ำใจ๋ชาวพิพิธภัณฑ์...

สำหรับไหล่หินนั้นเอาของไปแสดงอยู่ 5 ชิ้น มี..
น้ำเต้าหรือหม่าน้ำบ้านเฮา ปิ่นโตโบราณ คัมภีร์ใบลาน ปุง แล้วก้อ วี

นอกจากนั้นยังเอารูปแบบนิทรรศการเรื่องเล่าจากหนังสือเดินทางมาแสดงตวย แหมอย่างคือเฮาเอาพ่อหลวงแสน อุตตโมไปสอนการแป๋งโกมลอยตวย เป๋นการมีส่วนร่วมกับคนมาแอ่วผ่อที่ซุ้มของเฮา ปรากฏว่าคนสนใจนักขะหนาด เอาปอบ่าตัน แป๋งเสร็จเอาปิ๊กบ้านเลย...

ยังฮู้จักกับวิทยากรที่เปิ้นมาจากหลาย ๆ ประเทศ อย่างเช่น ฝรั่งแม่ญิงที่ส่งรูปมานี้เป๋นคนออสเตรเลีย (Mrs.Moira Simpson) และป้อจายคือดร.เคียว ญี่ปุ่น เปิ้นมาอู้เรื่องพิพิธภัณฑ์โรคมินามาตะ(?) คนหลังนี้จะมาทำวิจัยเกี่ยวกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ไหล่หินกับอ้ายที่ไหล่หินประมาณปีหน้า ตอนนี้กำลังที่พักหื้อเปิ่นอยู่...

และที่สำคัญอ้ายยังได้ถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพฯเปิ่นตวย เป๋นหน้าบุญในชาตินี้ขะหนาด...

นอกจากนั้นยังได้นั่งเสวนากับอ.วาที ทรัพย์สิน จากพิพิธภัณฑ์หนังตะลุง นครศรีธรรมราชกับของ ม.ทักษิณและอีกหลาย ๆ ที่แลกเปลี่ยนความฮู้กั๋นหลายเรื่อง ได้เครือข่ายนักขะหนาด เอาเป๋นว่าผ่อฮูปก็แล้วกั๋นน่อมีอะหยังเอิ้นมาได้เน่อ
.................
ยินดีจ้าดนักครับ
สายสืบหอศิลป์
เสาร์ 15
พฤศจิกา 51

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เปิดโลกการออกแบบ ว่าด้วย miniTCDCลำปาง : ห้องสมุด อาคารเรียนรวม ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง



ป้ายประชาสัมพันธ์ หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
ที่มา : http://tcdclibrary.wordpress.com/2007/08/



พื้นที่ภายในห้องสมุด
ที่มา :
http://tcdclibrary.wordpress.com/2007/08/


อีกมุมหนึ่ง
ที่มา : http://tcdclibrary.wordpress.com/2007/08/


เปิดโลกการออกแบบ ว่าด้วย miniTCDCลำปาง :
ห้องสมุด อาคารเรียนรวม ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง


เครือข่ายความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ โดย TCDC (Thailand Creative and Design Center) ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดีย วัสดุเพื่อการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นความคิด ภายใต้โครงการ mini TCDCซึ่งในระยะแรก ได้เริ่มทำการร่วมมือกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาค อันได้แก่
1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. มหาวิทยาลัยบูรพา

โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกัน ไปแล้วในวันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ Creative Space สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 เอ็มโพเรี่ยมช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์

ข้อมูลรายละเอียด : miniTCDC ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตั้งอยู่ที่ ส่วนห้องสมุด อาคารเรียนรวม ศูนย์ลำปาง
เวลาทำการ 08.30-16.30 น.
วันหยุด หยุดวันนักขัตฤกษ์

ข้อมูลการติดต่อ
ที่อยู่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัคร จ.ลำปาง 52190
โทรศัพท์ 054-268704
โทรสาร 054-268701
Email : saengduen2001@yahoo.com

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นางสาวนพมาศ ขวัญเงิน
Email : noppamas26@chaiyo.com
เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ นายทวีศักดิ์ วังแวว
Email : taweesak@tu.ac.th
เจ้าหน้าที่ TCDC นายวัชรพล หรั่งแพ
Email : watchapon@tcdc.or.th

กลุ่มเนื้อหาของหนังสือที่สนใจ
-การออกแบบผลิตภัณฑ์
-กราฟฟิคดีไซด์
-อินทีเรียดีไซด์
-งานหัตถกรรมต่างๆ ทั่วโลก

-Environmental Design
-Transportation Design
-Ceramics art & Design
-Textile
-Fine art
-painting
-Art History
-ศิลปกรรม จิตรกรรมไทย
-Product Design History


ตัวอย่างหนังสือใน miniTCDC



ตรวจสอบรายชื่อหนังสือ
Search Result

บันทึกการติดตั้งโครงการ miniTCDC
ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง


ช่วงวันที่ 3 - 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ ที่น่าจดจำของผม มันเป็นช่วงเวลาที่ผม และทีมงานของ TCDC ได้เดินทางไปยัง ห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และจัดหนังสือสำหรับโครงการบริการ ยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบัน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ miniTCDC (ต่อไปนี้ผมขอเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการ miniTCDC “ นะครับ เพราะว่าสั้น และเรียกง่ายดีครับ ) โดยจะขอสรุปขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ไว้ดังนี้ครับ

วันที่ 1 : วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2550
ทีมงานผู้ติดตั้งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่จังหวัดลำปางด้วยสายการบิน PB Air ในเวลา 9.30 น.ทั้งหมด 4 คนดังนี้
1.คุณสุภาพร สมจิตต์ (Chief Librarian)
2.คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร (Information Scientist)
3.คุณเมธี สันติภาพพงศา (IT engineer)
4.คุณอัครพล จีนาคม (Mini Info Guru Officer)
และในเวลาประมาณ 11.00 น. พวกเราก็ได้เดินทางถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อย่างปลอดภัย

งานแรกที่เริ่มดำเนินการ คือ สำรวจพื้นที่ที่จะจัดให้บริการ miniTCDC ซึ่งต่อจากนี้เราจะต้องนำชั้นหนังสือ 3 ชั้น และชั้นวัสดุ 2 ชั้น มาจัดให้บริการในส่วนนี้

หลังจากสำรวจพื้นที่ และออกแบบมุมที่จะจัดวางชั้นต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวที่เราจะต้องนำชั้นมาวางกันจริง ๆ ล่ะครับ

จากนั้นเราก็ได้ขนย้ายชั้นทั้งหมดเข้าสู่ห้องสมุด และจัดวางในแบบที่เราดีไซน์ไว้ เมื่อเราจัดชั้นต่าง ๆ เข้าที่เข้าทางแล้ว ก็ถึงคราวที่เราต้องประกอบชั้นวัสดุของ Material ConneXion Bangkok โดยการนำแผ่นความรู้ และแผ่นวัสดุติดที่ชั้นทั้ง 2 จากนั้นจึงนำกรอบของชั้นติดทับลงไป เพื่อความสวยงาม
ซึ่งวัสดุทั้ง 4 ชิ้นนี้มีคุณสมบัติพอสังเขป ดังนี้ครับ

1. Visionnex แผ่นภาพกราฟฟิก 3 มิติ แผ่นภาพที่นำไปติดบนวัสดุได้หลายชนิด ให้ลวดลายที่สวยงามทั้ง 2 และ 3 มิติ
2. CVS organic cotton canvas ผ้าฝ้ายผสมฝ้ายอินทรีย์ เป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้ายอินทรีย์ และเส้นใยฝ้ายธรรมดา เหมาะสำหรับเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์, รองเท้า, กระเป๋า เป็นต้น
3. Plant Cloth ผ้าบุจากใยธรรมชาติ เป็นสิ่งทอที่มีส่วนผสมของเส้นใยสมุนไพร ทอจากต้นกระทือ 90 % + ฝ้าย 10 % เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน เช่น ทำผ้าม่าน,เฟอร์นิเจอร์
4. Crystaline Mosaics กระเบื้องโมเสก ทำจากโพลิเมอร์ วัสดุนี้ใช้ทดแทนแก้ว และเซรามิกได้ นำไปใช้บุผนังภายใน, ฉากกั้นเคาน์เตอร์ เป็นต้น

จากนั้นเราได้ตรวจสอบหนังสือที่ถูกส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย หลังจากที่ตรวจแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การนำหนังสือจัดขึ้นชั้นตามหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

ในระหว่างที่ผมกำลังจัดหนังสือขึ้นชั้นอยู่นั้น พี่ ๆ ฝ่ายIT ก็กำลังง่วนอยู่กับการติดตั้งจอ Computer Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser โปรแกรม Shelves Browser ก็คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส (Touch screen) บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ และปกหลัง

ขั้นตอนต่อไปคือ การติดแผ่นป้ายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบ รวมไปถึง การจัดวาง Brochure ความรู้ , ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง TCDC และเรื่องการสมัครสมาชิก ไว้บนชั้นหนังสือสำหรับแจกฟรี

วันที่ 2 : วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2550
หลังจากที่เมื่อวานนี้เราได้เหน็ดเหนื่อยกันไปแล้วกับการติดตั้ง miniTCDC ก็มาถึงวันที่ 2 ของการทำงาน วันที่เป็นการอบรมบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ miniTCDC ไม่ว่าจะเป็น การอบรมการเก็บสถิติการใช้หนังสือรายวัน, การอบรมการใช้โปรแกรม Shelves browser, การอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ของ TCDC, การอบรมการใช้ Database (MCB ABM DAAI GMID), การอบรมบริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด, การอบรมการใช้ Blog เป็นต้น

จากนั้นในตอนบ่าย ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนใจใน miniTCDC มาร่วมฟังการอบรมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ TCDC จะเน้นในเรื่องของ การใช้โปรแกรม Shelves browser ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาโดยตรง

วันที่ 3 : วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2550
วันนี้ถือเป็นวันจากลา เวลา 10.00 น. เราทั้ง 3 คน ได้เดินทางมาดู miniTCDC ประจำห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ก่อนออกเดินทางผมก็เลยขอเปรียบเทียบภาพก่อน และหลังการติดตั้งมาให้ดูกันเล่น ๆ ครับ หลังจากได้กล่าวอำลาพี่ ๆ บรรณารักษ์แล้ว เราก็พบกับธงประชาสัมพันธ์ miniTCDC ที่ด้านหน้าของอาคารห้องสมุด ก็เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ

นอกจากนี้แล้ว ทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังได้ติดป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ miniTCDC ไว้ประตูทางด้านหน้าของมหาวิทยาลัยด้วยครับ

สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TCDC ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านในความเอื้อเฟื้อ ตลอดระยะเวลาที่พวกเราทำงานกันครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานในโครงการ miniTCDC นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มที่ ขอขอบพระคุณครับ.

สถิติการใช้




ที่มา :
"TCDC Library network"
http://library.tcdc.or.th/minitcdc/พฤษภาคม 19, 2007
http://tcdclibrary.wordpress.com/tu-l/
http://tcdclibrary.wordpress.com/2007/08/
............
นอกจากพื้นที่พิพิธภัณฑ์แล้ว เรายังมีแหล่งเพื่อค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบที่น่าสนใจอีกนะครับ หากมีข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ miniTCDC ในลำปางแล้วเราจะชวนคุยกันอีก

สายสืบหอศิลป์
พุธ 12
พฤศจิกา 51

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ReadCamp — ทุกอย่างอ่านได้ โครงการเพื่อการอ่าน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


ที่มา : http://culturelab.in.th/readcamp/about/

ReadCamp รี้ดแคมป์คือสนามคิด บนความเชื่อว่า ทุกอย่างล้วนอ่านได้ สิ่งของรอบกาย ความคิดรอบตัว เป็นไปและคงอยู่เพราะมีอะไรบางอย่างทำมันให้เป็นเช่นนั้น และเราทุกคนสามารถอ่านมันได้ หากจะทำ
ReadCamp ชวนทุกคนแลกเปลี่ยนการอ่านของตัว ของหนึ่งอย่างอาจอ่านได้ไม่รู้จบในหลายทาง เราอ่านอย่างนี้ คนอื่นอ่านอย่างนั้น ทำไม อย่างไร เราชวนคุณสงสัยไปพร้อมกัน ใน ‘รี้ดแคมป์’
ReadCamp ครั้งแรก จะจัดขึ้น วันเสาร์ที่ 29 พ.ย. 2551 นี้ ที่
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ตรงข้าม MBK)

ReadCamp — ทุกอย่างอ่านได้
อ่าน ‘ทำไม’
นักอ่านคงรู้ซึ้งดีว่า เสน่ห์ของการอ่านนั้น ไม่ใช่เพราะเราได้แค่อ่านอย่างเดียว แต่เมื่ออ่านแล้ว เราคุยกับสิ่งที่อ่านได้ด้วย เราตีความ ตั้งคำถาม วิพากษ์ หรือกระทั่งรื้อแล้วเล่าสิ่งที่ได้อ่านใหม่ เมื่อลงมืออ่านด้วยกัน เราอาจเห็นความแตกต่างขัดแย้งมากมายในการอ่านแบบต่าง ๆ ซึ่งที่แท้แล้ว คงไม่มีการอ่านแบบใดความหมายแบบไหน ที่ถูกที่สุด ดีที่สุด อำนาจในการอ่านเป็นของผู้อ่านแต่ละคน หาใช่ผูกขาดกับผู้อ่านรายใดรายหนึ่ง หรือกระทั่งผู้เขียน!
เราทุกคนล้วนอ่านแล้วก็รื้อ–เล่าใหม่อยู่ทุกวัน เราไม่ได้แค่อ่านอย่างเดียว เราไม่อ่านได้แค่อย่างเดียว

อ่าน ‘อะไร’
ทุกอย่างอ่านได้ ทั้งของที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ทั้งแบบที่เป็นกระดาษและไม่ใช่กระดาษ ทั้งแบบที่มีบรรทัดและไม่มีบรรทัด ดังนั้น คุณจะอ่านอะไรก็ได้ อ่านหนังสือ อ่านหนัง อ่านฉากรัก อ่านเพลง อ่านโปสเตอร์ อ่านโฆษณา อ่านเสื้อยืด อ่านพฤติกรรม อ่านเทรนด์ อ่านวัฒนธรรม อ่านปุ่มบนไมโครเวฟ อ่านสถาปัตยกรรม อ่านการ์ตูน อ่านภาพวาด อ่านฯลฯ รวมไปถึง อ่านใจเธอ ;p

อ่าน ‘ยังไง’

ใคร ๆ ก็มาสนุกกันได้ เริ่มจากลงทะเบียนหัวข้ออ่านกันก่อน ที่
www.readcamp.org พอถึงวันงาน เสาร์ 29 พฤศจิกายน 2551 ไปให้ทัน 10 โมงเช้า เพื่อโหวตเรื่องที่อยากอ่านด้วยกัน (หากมีจำนวนเรื่องมากกว่าเวลาที่มี อาจต้องให้สิทธิเรื่องที่ได้รับโหวตมากกว่า) แต่ละเรื่องจะมีเวลาอ่านด้วยกัน 30 นาที นักอ่านที่เรื่องถูกรับเลือกทุกคนจะได้ของที่ระลึกเป็นเสื้อยืดแสนสวย
รูปแบบงานรี้ดแคมป์เป็นลักษณะงาน
“อสัมมนา” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากบาร์แคมป์

ที่ไหน เมื่อไหร่

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตรงข้ามมาบุญครอง BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
www.bacc.or.th
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 เวลา 10.00-19.00 น.
โหวตเรื่องอยากอ่าน 10 โมงเช้า (อย่าพลาด!)


ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนร่วมอ่านที่
www.readcamp.org
จัดโดย
Culture Lab etc. -
culturelab.in.th
Dot4D ไทซีอาร์ - thaicr.org
บล็อกกาซีน ประชาไท - blogazine.prachatai.com
Siam Intelligence Unit - siamintelligence.com
โอเพ่นออนไลน์ - onopen.com
นิตยสารไบโอสโคป - bioscopemagazine.com
Opendream -
opendream.co.th
ChangeFusion - changefusion.org
ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย - cc.in.thและทุกคน

* รี้ดแคมป์ ไม่ได้จัดโดยหรือเกี่ยวข้องใด ๆ กับ “วารสารอ่าน”

รูปแบบงาน “อสัมมนา”
รูปแบบอสัมมนา (unconference)
ที่จะใช้กับค่ายอ่านนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากงานบาร์แคมป์ (BarCamp) ซึ่งเป็นกิจกรรมอสัมมนาประเด็นนวัตกรรมและวิสัยทัศน์สารสนเทศ ที่จัดขึ้นทั่วโลก

โดยอาสาสมัคร ผู้เข้าร่วมงานทุกคนจะต้องเสนอหัวข้อที่ตนอยากนำเสนอ จากนั้นทุกคนจะโหวตว่าอยากจะร่วมการนำเสนอหัวข้อใดบ้าง หัวข้อตามจำนวนที่กำหนดที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้รับเลือกและนำมาจัดลงตารางร่วมกัน

การนำเสนอนั้นอาจมีหลายห้องพร้อมกัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีหัวข้อมากกว่าหนึ่งหัวข้อที่ผู้เข้าร่วมคนเดียวกันสนใจได้เวลาชนกันและต้องพลาดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งไป ลักษณะการให้ผู้ร่วมงานเลือกหัวข้อและจัดตารางเองร่วมกันของบาร์แคมป์นี้ ทำให้หัวข้อและตารางงานออกมาตรงใจผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มากที่สุด และทำให้งานได้รับการตอบรับที่ดีมาก

บาร์แคมป์ครั้งแรกในประเทศไทยที่กรุงเทพเมื่อต้นปี พ.ศ. 2551 ประสบความสำเร็จอย่างมาก มีผู้ร่วมงานกว่าสองร้อยคน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับงานอื่น ๆ เช่น DrupalCamp, Thailand Next Web Apps และล่าสุด WordCamp

เฉพาะงานในชื่อบาร์แคมป์ในประเทศไทยมีจัดแล้วสี่ครั้ง เชียงใหม่ สงขลา แห่งละครั้ง และสองครั้งที่กรุงเทพ ทั้งหมดจัดโดยอาสาสมัคร ค่าใช้จ่ายได้รับการสนับสนุนจากบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์และประสานงานทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก (ข้อมูลเพิ่มเติมและวีดิโอกิจกรรม - barcampbangkok.org)
............
สายสืบหอศิลป์
ศุกร์ 7
พฤศจิกา 51

“รอยยิ้มสยาม: ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” นิทรรศการชั่วคราว ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


โปสเตอร์1



โปสเตอร์2


ตัวอย่างงานศิลปะ

“รอยยิ้มสยาม: ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก”
วันที่ 23 กันยายน – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สถานที่จัดแสดงชั้น 7- 9 จำนวนผลงาน 300 ผลงาน

หลังจากที่คนกรุงเทพฯ รอคอยหอศิลป์กันมาเป็นเวลานาน ในที่สุดหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ก็จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ สี่แยกปทุมวัน และเพื่อให้สมกับที่ทุกๆคนรอคอย กรุงเทพมหานครร่วมกับสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จัดนิทรรศการครั้งใหญ่ ต้อนรับการเปิดหอศิลปะแห่งนี้
โดยจัดแสดงผลงานของศิลปินทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 100 คน รวมผลงานมากกว่า 300 ชิ้น บนพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ตั้งแต่ชั้น 7- 9 โดยใช้ชื่อนิทรรศการที่ต้องสะดุดใจทุกคนว่า “รอยยิ้มสยาม: ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” (Traces of Siamese Smile: Art + Faith + Politics + Love)

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และประธานกรรมการบริหาร หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า นิทรรศการ “รอยยิ้มสยาม: ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” จะเป็นนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง ของประเทศไทยซึ่งได้เชิญศิลปินที่มีชื่อเสียง ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าร่วมแสดง โดยตลอดพื้นที่ของ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจะ ถูกจัดแสดงไปด้วยผลงาน ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย ศิลปะการจัดวาง วีดิโออาร์ต จนถึงการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อนิทรรศการครั้งนี้ โดยเฉพาะผลงานแต่ละชิ้นจะ ร้อยเรียงและเล่าเรื่องราวรอยยิ้มสยาม ในมุมของศิลปะ ศรัทธา การเมือง และความรัก

สำหรับความหลากหลายของศิลปินและผลงานร่วมแสดงนั้น ศ.ดร.อภินันท์ เล่าว่า สำนักงานฯ ได้แต่งตั้งภัณฑารักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกศิลปินและผลงานที่สอดคล้องกับการจัดนิทรรศการ อาทิ นายสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อ.สรรเสริญ มิลินทสูต ผศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ อ.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ นายปกรณ์ กล่อมเกลี้ยง และนายธวัชชัย สมคง

ศิลปินที่รับเชิญ
โดยศิลปินที่รับเชิญเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ จะมีทั้งศิลปินรุ่นอาวุโสจนถึงศิลปินรุ่นใหม่ อาทิ ศ. ชลูด นิ่มเสมอ, ถวัลย์ ดัชนี, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ศ. ปรีชา เถาทอง, ผศ. ถาวร โกอุดมวิทย์, ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช, จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, ชาติชาย ปุยเปีย, มานิต ศรีวานิชภูมิ, รศ. อารยา ราษฎรจำเริญสุข, วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ยุรี เกนสาคู, อริญชย์ รุ่งแจ้ง ฯลฯ ส่วนศิลปินต่างชาติ ได้แก่ Louise Bourgeois, Nobuyoshi Araki, Yoshitomo Nara, Marina Abramovic, Choi Jeong-Hwa, Pierre et Gilles, David Mach, Amanda Coogan, Yue Minjun, Mette Tronvoll, Paolo Canevari เป็นต้น

จุดเด่นของนิทรรศการ
“รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก” นอกจากจะเป็นนิทรรศการที่อาจจะ เทียบได้กับเทศกาล ศิลปะอื่นของโลก และเป็นนิทรรศการที่รวมของศิลปินที่มีชื่อเสียงซึ่งมีขึ้น ไม่บ่อยนักในประเทศไทยแล้ว นิทรรศการครั้งนี้ เปรียบเหมือนการตามรอยประวัติศาสตร์ จากอดีตถึงปัจจุบันผ่านมิติทางด้านศิลปะ อีกทั้งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะนำให้กรุงเทพมหานครและ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ก้าวสู่ความเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปะในภูมิภาคเอเชีย โดยกำหนดจัดแสดงนิทรรศการในระหว่างวันที่ 20 กันยายน – 23 พฤศจิกายน 2551

จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมชื่นชมผลงาน และเป็นส่วนหนึ่งของการติดตาม “รอยยิ้มสยาม : ศิลปะ+ศรัทธา+การเมือง+ความรัก”

Artist Talk
Theme II : Art+Faith+Politics+Love

การสนทนาถึงมุมมองเชิงเปรียบเทียบที่มีต่อกระบวนการและแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย จากอดีตสู่ปัจจุบัน
วันเวลา : เวลา 15.30-18.30 น. วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครโดย อ.ปัญญา วิจินธนสาร, คุณ สุรสีห์ กุศลวงศ์ , คุณ วสันต์ สิทธิเขตต์

Theme III : Screening
การสนทนาถึงแนวคิดและรูปแบบของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแนวทางสื่อบนแผ่นฟิลม์
วันเวลา : เวลา 15.30-18.30 น. วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครโดย คุณ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล, คุณ วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง, คุณ วิศุทธิ์ พรนิมิตร

การแสดงลิเกคณะมะขามป้อม
วันเวลา : เวลา 19.00 น. วันเสาร์ที่ 1 และวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : เวที ชั้น 1 การแสดงลิเกคณะมะขามป้อม โดย คุณประดิษฐ ประสาททอง เรื่อง ศึกรักปราสาทศิลป์ ภาค 3 (ตอนจบ)

ที่มา : http://www.bacc.or.th/exhibition/2551/002/exhibition002.html

..................
สายสืบหอศิลป์
ศุกร์ 7
พฤศจิกา 51

ว่าด้วย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


โลโก้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ที่มา : http://www.bacc.or.th/


ภาพภายนอกหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน
ที่มา : http://www.bacc.or.th/aboutus.html


ศิลปะใจกลางกรุง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ถึงเวลาที่เราจะพาจินตนาการ ออกไปสู่โลกแห่งงานศิลป์ ที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล ในอาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ใจกลางเมือง ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร ที่นี่เป็นจุดนัดพบของความรู้ด้านศิลปะ และศูนย์กลางของความ คิดสร้างสรรค์ สำหรับคนทุกรุ่นทุกวัย ให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของการพูดคุย สังสรรค์ ระหว่างผู้สร้างงานศิลป์ด้วยกัน และกับคนชื่นชมงาน เพื่อกลับไปต่อยอดจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจ และทดลองสิ่งใหม่ๆ เรายังเป็นพื้นที่ที่จะสนับสนุน ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้เข้ามา สร้างผลงานศิลปะ และเติมเต็มการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ขึ้น

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร รองรับงานศิลปะร่วมสมัยหลากหลายประเภท โดยมีพื้นที่เพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียนของกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะ การจัดแสดงผลงานศิลปะ แต่ยังรวมถึง ภาพยนตร์ ละคร-เวที ดนตรี วรรณกรรม และการออกแบบสร้างสรรค์ มีห้องสมุดศิลปะ ตลอดจนพื้นที่สำหรับร้านค้า ร้านอาหาร และร้านกาแฟ สร้างบรรยากาศของการพักผ่อนหย่อนใจให้กับผู้รักงานศิลป์

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เสริมการสร้างวัฒนธรรมใหม่ ในสังคมแห่งปัญญา อันนำไปสู่ทิศทางใหม่ของศิลปวัฒนธรรมต่อไป

วิสัยทัศน์
ศิลปวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญของความเจริญ และการพัฒนาของสังคมโดย ในปัจจุบันได้เป็นที่ประจักษ์ว่า ศิลปวัฒนธรรมเป็นวิถีทาง และกระบวนการทางสังคมที่ ประชาชนมีส่วนร่วม โดยแนวร่วมของประชาชนนี้ ต้องการหลักปฏิบัติการหรือกลไกของ งานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ตอบสนองและสะท้อนความคิดอ่าน และความรู้สึกของชุมชน และกลุ่มบุคคลในสังคมไทยผู้ร่วมสร้าง และ แลกเปลี่ยนงานวัฒนธรรมจากกระบวนการ และกลไกทางวัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้ ต้องมีการรองรับและ ประสานงานโดยองค์กรศิลป วัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อเป็นการร่วมกัน สร้างค่าและมูลค่าของชีวิต อันเป็นต้นทุนทางสังคม และเพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมเป็นกุญแจสร้างสรรค์สังคม

พันธกิจ
1. รณรงค์ให้ชุมชนรู้จักศิลปะและสนับสนุนกระบวนการสนทนา แลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินกับประชาชน
2. สนับสนุนกระบวนการการนำไปสู่การสร้างสรรค์จินตนาการ เพื่อเป็นการสรรค์สร้างภูมิปัญญาใหม่
3. สร้างคุณค่าแรงดลบันดาลใจทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน เพื่อความสมดุลในการพัฒนาสังคม
4. สรรหาแนวทางและหลักการปฏิบัติ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม เป็นโจทย์ในการสร้างงานศิลปวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรองรับและประสานงานให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม แก่ชุมชนและประชาชน
2. เพื่อการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมโดยมองประสบการณ์ และทุนเดิมของประชาชน เป็นหลักจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยองค์ความรู้หลากหลาย จนถึงศิลปวัฒนธรรมในลีลาชีวิตของคนปัจจุบันที่สัมผัสได้จากดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น วรรณกรรม และการออกแบบ เป็นต้น
3. เพื่อสร้างเครือข่ายและระดมทรัพยากร ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและเป็น องค์กรส่งเสริมสร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น
4. เพื่อสร้างและพัฒนาสถาบัน บุคลากร สถานที่และครุภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานสากลเพื่อเป็นองค์กรนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เพื่อเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร เพื่อความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก

ข้อมูลทั่วไป
- อาคารสูง 9 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 25,000 ตารางเมตร
- พื้นที่ห้องแสดงงานศิลปะ 3,000 ตารางเมตร (ที่ชั้น 7, 8 และ 9) และพื้นที่โถงแสดงงานอีก 1,000 ตารางเมตร
- ห้อง Auditorium ขนาด 222 ที่นั่ง (สำหรับเป็นโรงภาพยนตร์ และการแสดงต่างๆ ที่ชั้น 5)
- ห้องโถงอเนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ห้อง Studio ขนาด 350 ตารางเมตร, ห้องสมุด 600 ตารางเมตร, ส่วนเก็บรักษาผลงานศิลปะ 200 ตารางเมตร และห้องประชุมต่างๆ
- พื้นที่สำหรับ ร้านค้า และร้านอาหาร 34 ร้าน ประมาณ 1,250 ตารางเมตร
- ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่ มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ


ที่มา : http://www.bacc.or.th/aboutus.html
................
สายสืบหอศิลป์
ศุกร์ 7
พฤศจิกา 51