งานฮอมแฮง...แป๋งข่วงเวียงละกอน (เพื่อหอศิลป์) ครั้งที่ 1 ณ ศาลากลางจังหวัดลำปางหลังเดิม วันที่ 24-26 ตุลาคม 2546

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ว่าด้วย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


โลโก้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ที่มา : http://www.bacc.or.th/


ภาพภายนอกหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน
ที่มา : http://www.bacc.or.th/aboutus.html


ศิลปะใจกลางกรุง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ถึงเวลาที่เราจะพาจินตนาการ ออกไปสู่โลกแห่งงานศิลป์ ที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล ในอาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ใจกลางเมือง ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร ที่นี่เป็นจุดนัดพบของความรู้ด้านศิลปะ และศูนย์กลางของความ คิดสร้างสรรค์ สำหรับคนทุกรุ่นทุกวัย ให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ของการพูดคุย สังสรรค์ ระหว่างผู้สร้างงานศิลป์ด้วยกัน และกับคนชื่นชมงาน เพื่อกลับไปต่อยอดจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจ และทดลองสิ่งใหม่ๆ เรายังเป็นพื้นที่ที่จะสนับสนุน ให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้เข้ามา สร้างผลงานศิลปะ และเติมเต็มการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ขึ้น

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร รองรับงานศิลปะร่วมสมัยหลากหลายประเภท โดยมีพื้นที่เพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียนของกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะ การจัดแสดงผลงานศิลปะ แต่ยังรวมถึง ภาพยนตร์ ละคร-เวที ดนตรี วรรณกรรม และการออกแบบสร้างสรรค์ มีห้องสมุดศิลปะ ตลอดจนพื้นที่สำหรับร้านค้า ร้านอาหาร และร้านกาแฟ สร้างบรรยากาศของการพักผ่อนหย่อนใจให้กับผู้รักงานศิลป์

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เสริมการสร้างวัฒนธรรมใหม่ ในสังคมแห่งปัญญา อันนำไปสู่ทิศทางใหม่ของศิลปวัฒนธรรมต่อไป

วิสัยทัศน์
ศิลปวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบส่วนสำคัญของความเจริญ และการพัฒนาของสังคมโดย ในปัจจุบันได้เป็นที่ประจักษ์ว่า ศิลปวัฒนธรรมเป็นวิถีทาง และกระบวนการทางสังคมที่ ประชาชนมีส่วนร่วม โดยแนวร่วมของประชาชนนี้ ต้องการหลักปฏิบัติการหรือกลไกของ งานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ตอบสนองและสะท้อนความคิดอ่าน และความรู้สึกของชุมชน และกลุ่มบุคคลในสังคมไทยผู้ร่วมสร้าง และ แลกเปลี่ยนงานวัฒนธรรมจากกระบวนการ และกลไกทางวัฒนธรรมที่กล่าวถึงนี้ ต้องมีการรองรับและ ประสานงานโดยองค์กรศิลป วัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อเป็นการร่วมกัน สร้างค่าและมูลค่าของชีวิต อันเป็นต้นทุนทางสังคม และเพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมเป็นกุญแจสร้างสรรค์สังคม

พันธกิจ
1. รณรงค์ให้ชุมชนรู้จักศิลปะและสนับสนุนกระบวนการสนทนา แลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินกับประชาชน
2. สนับสนุนกระบวนการการนำไปสู่การสร้างสรรค์จินตนาการ เพื่อเป็นการสรรค์สร้างภูมิปัญญาใหม่
3. สร้างคุณค่าแรงดลบันดาลใจทางศิลปวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน เพื่อความสมดุลในการพัฒนาสังคม
4. สรรหาแนวทางและหลักการปฏิบัติ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม เป็นโจทย์ในการสร้างงานศิลปวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรองรับและประสานงานให้การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม แก่ชุมชนและประชาชน
2. เพื่อการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมโดยมองประสบการณ์ และทุนเดิมของประชาชน เป็นหลักจากมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยองค์ความรู้หลากหลาย จนถึงศิลปวัฒนธรรมในลีลาชีวิตของคนปัจจุบันที่สัมผัสได้จากดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น วรรณกรรม และการออกแบบ เป็นต้น
3. เพื่อสร้างเครือข่ายและระดมทรัพยากร ในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและเป็น องค์กรส่งเสริมสร้างโอกาส ประสานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น
4. เพื่อสร้างและพัฒนาสถาบัน บุคลากร สถานที่และครุภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานสากลเพื่อเป็นองค์กรนำเสนอและบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
5. เพื่อเสริมสร้างศักดิ์ศรีแก่กรุงเทพมหานคร เพื่อความเป็นมหานครแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก

ข้อมูลทั่วไป
- อาคารสูง 9 ชั้น (ไม่รวมชั้นใต้ดิน) มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 25,000 ตารางเมตร
- พื้นที่ห้องแสดงงานศิลปะ 3,000 ตารางเมตร (ที่ชั้น 7, 8 และ 9) และพื้นที่โถงแสดงงานอีก 1,000 ตารางเมตร
- ห้อง Auditorium ขนาด 222 ที่นั่ง (สำหรับเป็นโรงภาพยนตร์ และการแสดงต่างๆ ที่ชั้น 5)
- ห้องโถงอเนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ห้อง Studio ขนาด 350 ตารางเมตร, ห้องสมุด 600 ตารางเมตร, ส่วนเก็บรักษาผลงานศิลปะ 200 ตารางเมตร และห้องประชุมต่างๆ
- พื้นที่สำหรับ ร้านค้า และร้านอาหาร 34 ร้าน ประมาณ 1,250 ตารางเมตร
- ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่ มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ


ที่มา : http://www.bacc.or.th/aboutus.html
................
สายสืบหอศิลป์
ศุกร์ 7
พฤศจิกา 51

ไม่มีความคิดเห็น: