1.
โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ณ จังหวัดลำปาง
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดลำปาง กำลังริเริ่มโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ณ จังหวัดลำปาง โดยอนุรักษ์และพัฒนาอาคารศาลาว่าการจังหวัดลำปางเดิม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปของ "พิพิธภัณฑ์มีชีวิต" ที่จะให้ทั้งสาระความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลิน ภายใต้เนื้อหาของคนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
หากโครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น คาดว่า "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้" แห่งใหม่นี้ จะแล้วเสร็จในปี 2553 ทั้งนี้ คงจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวลำปางไม่น้อยเลยทีเดียว
หากโครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น คาดว่า "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้" แห่งใหม่นี้ จะแล้วเสร็จในปี 2553 ทั้งนี้ คงจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวลำปางไม่น้อยเลยทีเดียว
โฉมหน้าเว็บเพจของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ ลำปาง เป็นพิพิธภัณฑ์ในอนาคต
http://www.ndmi.or.th/2008/museums/future/lampang.html
....................
2.
2.
นอกจากนั้นยังมีจาก ลานนาโพสต์ออนไลน์ ที่รายงานความก้าวหน้าโดยจั่วหัวในเว็บไซต์ไว้ว่า "จัดสร้างหอศิลป์หาเจ้าภาพดูแลงบปี 53"
ลำปางได้ลูกฟลุ๊ค มีแววได้ตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ เร่งหาเจ้าภาพดูแลเพื่อของบให้ทันปี 53
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ได้จัดประชุมคณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางขึ้น โดยมีนายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน ซึ่งการดำเนินการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมฯ
ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ โดยมีพลเรือเอกธนิฐ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเข้าร่วมประชุมด้วย
นายอนุศิษฐ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เขต 1 ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้มีการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมในครั้งนี้ว่า จากการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง ประจำปี 2551 ครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกับผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติพร้อมคณะ ได้ข้อสรุปว่า
จะจัดตั้งหอศิลปฯที่ตัวอาคารศาลากลางหลังเก่า และต้องดูเรื่องสนามด้านหน้า รวมทั้งศาลาประชาคม และที่จอดรถด้วย ในเรื่องของการทำงานจะประสานกันระหว่างทางจังหวัดกับ สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ โดยจะส่งคนเข้ามาคุย ว่าจะต้องมีการจัดแสดงอะไร และจัดแสดงอย่างไรบ้างในหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง ต้องช่วยกันคิดและรวบรวมเขียนเป็น TOR ตามความต้องการของจังหวัด
เมื่อเขียน TOR ลงตัวแล้วจะต้องหาคนที่จะมาแปรความต้องการ และออกแบบออกมาเป็นลักษณะที่จังหวัดต้องการ ซึ่งจังหวัดต้องใช้งบประมาณในการออกแบบเอง เมื่อได้แบบและทราบงบประมาณแล้ว ทางจังหวัดคงจะต้องตั้งงบประมาณขึ้นมาปรับปรุงอาคาร
ส่วนทางสถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ ก็จะต้องทำควบคู่กันไป โดยตั้งงบประมาณเข้ามาดูแลในเรื่องนิทรรศการ ซึ่งงานในตอนนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เรื่องการวางผังและการฟื้นฟูอาคาร อีกส่วนคือการจัดนิทรรศการ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้แจ้งในที่ประชุมว่าจะได้ประสานไปยัง อบจ.ลำปาง เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร เพื่อขอให้รับเป็นเจ้าภาพในการดูแลหลังจากที่เสร็จสิ้นแล้วด้วย ซึ่งการเป็นเจ้าภาพ หากออกมาในรูปของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ก็จะหาองค์กรและหน่วยงานต่างๆช่วยกันได้ ซึ่งตนดูแนวโน้มคิดว่าน่าจะเกิดได้แล้ว
ในส่วนของปัญหาการทำงานที่ติดขัดมานานนั้น นายอนุศิษฐ์ กล่าวว่า การเริ่มต้นเริ่มมาหลายปีแล้ว แต่งานค้างอยู่ ในครั้งนี้คิดว่าจะเดินหน้าไปได้ เดิมประสบปัญหาว่า เรารู้ว่าอยากจะให้เกิดหอศิลปวัฒนธรรม แต่ยังหาเจ้าภาพมาช่วยทำไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ได้สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ มีเป็นองค์กรที่มีความรู้ด้านนี้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษา และเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ซึ่งงบประมาณการจัดตั้งหอศิลปฯทั้งหมดคาดว่าจะต้องใช้หลายสิบล้านบาท แต่ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน
ในตอนนี้ต้องหาเจ้าภาพให้ได้ก่อนทันทีที่ทางด้านจังหวัดลำปางได้เจ้าภาพลงตัวเมื่อไร ทางฝ่ายสถาบันฯ ก็พร้อมที่จะเข้ามาทำงานได้เลย เชื่อว่าจะดำเนินการไปได้เร็วพอสมควร เพราะจังหวัดได้เตรียมตัวและหาข้อมูลต่างๆมานานแล้ว โดยทั้งกลุ่มล้านคำลำปาง กลุ่มรักษ์ลำปาง กลุ่มสล่าลำปาง ก็ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงค่อนข้างมีข้อมูลมาก
แต่จะต้องมาคุยกันว่าจะนำอะไรไปไว้ในหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางบ้าง หากสรุปความต้องการได้เสร็จทันเดือนมกราคม 2552 ทางจังหวัดลำปางอาจจะเสนอของบได้ในปีงบประมาณ 2553 ทางสถาบันพิพิธภัณฑ์ก็จะของบในส่วนของนิทรรศการ หากได้รับประมาณในปี 2553 ภายในไม่เกิน 2 ปี คาดว่าคนลำปางจะได้เห็นหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง นายอนุศิษฐ์ กล่าว.
ที่มา : http://www.lampangpost.com/news/684-6.htm
บรรยากาศการประชุมเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา
....................
กระนั้นก็ดีเรื่อง "ชื่อ" ของสถานที่แห่งนี้ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงว่า ควรจะใช้ในนามใด แต่เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำให้พื้นที่นี้กำเนิด และเติบโตรองรับความเคลื่อนไหวและความเก่าแก่ทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อย่างไรต่างหาก
ลำปางได้ลูกฟลุ๊ค มีแววได้ตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ เร่งหาเจ้าภาพดูแลเพื่อของบให้ทันปี 53
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา จังหวัดลำปาง ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ได้จัดประชุมคณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางขึ้น โดยมีนายดิเรก ก้อนกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน ซึ่งการดำเนินการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมฯ
ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ โดยมีพลเรือเอกธนิฐ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเข้าร่วมประชุมด้วย
นายอนุศิษฐ์ ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เขต 1 ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้มีการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมในครั้งนี้ว่า จากการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง ประจำปี 2551 ครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกับผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติพร้อมคณะ ได้ข้อสรุปว่า
จะจัดตั้งหอศิลปฯที่ตัวอาคารศาลากลางหลังเก่า และต้องดูเรื่องสนามด้านหน้า รวมทั้งศาลาประชาคม และที่จอดรถด้วย ในเรื่องของการทำงานจะประสานกันระหว่างทางจังหวัดกับ สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ โดยจะส่งคนเข้ามาคุย ว่าจะต้องมีการจัดแสดงอะไร และจัดแสดงอย่างไรบ้างในหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง ต้องช่วยกันคิดและรวบรวมเขียนเป็น TOR ตามความต้องการของจังหวัด
เมื่อเขียน TOR ลงตัวแล้วจะต้องหาคนที่จะมาแปรความต้องการ และออกแบบออกมาเป็นลักษณะที่จังหวัดต้องการ ซึ่งจังหวัดต้องใช้งบประมาณในการออกแบบเอง เมื่อได้แบบและทราบงบประมาณแล้ว ทางจังหวัดคงจะต้องตั้งงบประมาณขึ้นมาปรับปรุงอาคาร
ส่วนทางสถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ ก็จะต้องทำควบคู่กันไป โดยตั้งงบประมาณเข้ามาดูแลในเรื่องนิทรรศการ ซึ่งงานในตอนนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เรื่องการวางผังและการฟื้นฟูอาคาร อีกส่วนคือการจัดนิทรรศการ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางได้แจ้งในที่ประชุมว่าจะได้ประสานไปยัง อบจ.ลำปาง เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร เพื่อขอให้รับเป็นเจ้าภาพในการดูแลหลังจากที่เสร็จสิ้นแล้วด้วย ซึ่งการเป็นเจ้าภาพ หากออกมาในรูปของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ก็จะหาองค์กรและหน่วยงานต่างๆช่วยกันได้ ซึ่งตนดูแนวโน้มคิดว่าน่าจะเกิดได้แล้ว
ในส่วนของปัญหาการทำงานที่ติดขัดมานานนั้น นายอนุศิษฐ์ กล่าวว่า การเริ่มต้นเริ่มมาหลายปีแล้ว แต่งานค้างอยู่ ในครั้งนี้คิดว่าจะเดินหน้าไปได้ เดิมประสบปัญหาว่า เรารู้ว่าอยากจะให้เกิดหอศิลปวัฒนธรรม แต่ยังหาเจ้าภาพมาช่วยทำไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ได้สถาบันพิพิธภัณฑ์ฯ มีเป็นองค์กรที่มีความรู้ด้านนี้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษา และเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ซึ่งงบประมาณการจัดตั้งหอศิลปฯทั้งหมดคาดว่าจะต้องใช้หลายสิบล้านบาท แต่ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน
ในตอนนี้ต้องหาเจ้าภาพให้ได้ก่อนทันทีที่ทางด้านจังหวัดลำปางได้เจ้าภาพลงตัวเมื่อไร ทางฝ่ายสถาบันฯ ก็พร้อมที่จะเข้ามาทำงานได้เลย เชื่อว่าจะดำเนินการไปได้เร็วพอสมควร เพราะจังหวัดได้เตรียมตัวและหาข้อมูลต่างๆมานานแล้ว โดยทั้งกลุ่มล้านคำลำปาง กลุ่มรักษ์ลำปาง กลุ่มสล่าลำปาง ก็ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จึงค่อนข้างมีข้อมูลมาก
แต่จะต้องมาคุยกันว่าจะนำอะไรไปไว้ในหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปางบ้าง หากสรุปความต้องการได้เสร็จทันเดือนมกราคม 2552 ทางจังหวัดลำปางอาจจะเสนอของบได้ในปีงบประมาณ 2553 ทางสถาบันพิพิธภัณฑ์ก็จะของบในส่วนของนิทรรศการ หากได้รับประมาณในปี 2553 ภายในไม่เกิน 2 ปี คาดว่าคนลำปางจะได้เห็นหอศิลปวัฒนธรรมนครลำปาง นายอนุศิษฐ์ กล่าว.
ที่มา : http://www.lampangpost.com/news/684-6.htm
บรรยากาศการประชุมเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา
....................
กระนั้นก็ดีเรื่อง "ชื่อ" ของสถานที่แห่งนี้ก็ยังไม่เป็นที่ตกลงว่า ควรจะใช้ในนามใด แต่เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำให้พื้นที่นี้กำเนิด และเติบโตรองรับความเคลื่อนไหวและความเก่าแก่ทางศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ อย่างไรต่างหาก
สายสืบหอศิลป์ฯ
จันทร์ 29
กันยา 51
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น