เปิดโลกการออกแบบ ว่าด้วย miniTCDCลำปาง :
ห้องสมุด อาคารเรียนรวม ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบ โดย
TCDC (Thailand Creative and Design Center) ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดีย วัสดุเพื่อการออกแบบ รวมถึงกิจกรรมกระตุ้นความคิด ภายใต้โครงการ mini TCDCซึ่งในระยะแรก ได้เริ่มทำการร่วมมือกับ 5 สถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาค อันได้แก่
1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. มหาวิทยาลัยบูรพา
โดยมีการทำข้อตกลงร่วมกัน ไปแล้วในวันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ Creative Space สำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 เอ็มโพเรี่ยมช้อปปิ้ง คอมเพล็กซ์
ข้อมูลรายละเอียด : miniTCDC ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งอยู่ที่ ส่วนห้องสมุด อาคารเรียนรวม ศูนย์ลำปาง
เวลาทำการ 08.30-16.30 น.
วันหยุด หยุดวันนักขัตฤกษ์
ข้อมูลการติดต่อที่อยู่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ถ.ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ปงยางคก อ.ห้างฉัคร จ.ลำปาง 52190
โทรศัพท์ 054-268704
โทรสาร 054-268701
Email :
saengduen2001@yahoo.comเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเจ้าหน้าที่ห้องสมุด นางสาวนพมาศ ขวัญเงิน
Email :
noppamas26@chaiyo.comเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ นายทวีศักดิ์ วังแวว
Email :
taweesak@tu.ac.thเจ้าหน้าที่ TCDC นายวัชรพล หรั่งแพ
Email :
watchapon@tcdc.or.thกลุ่มเนื้อหาของหนังสือที่สนใจ ตรวจสอบรายชื่อหนังสือ
Search Resultบันทึกการติดตั้งโครงการ miniTCDC
ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางช่วงวันที่ 3 - 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความประทับใจ ที่น่าจดจำของผม มันเป็นช่วงเวลาที่ผม และทีมงานของ TCDC ได้เดินทางไปยัง ห้องสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เพื่อติดตั้งอุปกรณ์และจัดหนังสือสำหรับโครงการบริการ ยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศระหว่างสถาบัน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ miniTCDC (ต่อไปนี้ผมขอเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการ miniTCDC “ นะครับ เพราะว่าสั้น และเรียกง่ายดีครับ ) โดยจะขอสรุปขั้นตอนและกระบวนการทำงาน ตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้ายที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ไว้ดังนี้ครับ
วันที่ 1 : วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2550ทีมงานผู้ติดตั้งออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร มุ่งหน้าสู่จังหวัดลำปางด้วยสายการบิน PB Air ในเวลา 9.30 น.ทั้งหมด 4 คนดังนี้
1.คุณสุภาพร สมจิตต์ (Chief Librarian)
2.คุณเลอชาติ ธรรมธีรเสถียร (Information Scientist)
3.คุณเมธี สันติภาพพงศา (IT engineer)
4.คุณอัครพล จีนาคม (Mini Info Guru Officer)
และในเวลาประมาณ 11.00 น. พวกเราก็ได้เดินทางถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อย่างปลอดภัย
งานแรกที่เริ่มดำเนินการ คือ สำรวจพื้นที่ที่จะจัดให้บริการ miniTCDC ซึ่งต่อจากนี้เราจะต้องนำชั้นหนังสือ 3 ชั้น และชั้นวัสดุ 2 ชั้น มาจัดให้บริการในส่วนนี้
หลังจากสำรวจพื้นที่ และออกแบบมุมที่จะจัดวางชั้นต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวที่เราจะต้องนำชั้นมาวางกันจริง ๆ ล่ะครับ
จากนั้นเราก็ได้ขนย้ายชั้นทั้งหมดเข้าสู่ห้องสมุด และจัดวางในแบบที่เราดีไซน์ไว้ เมื่อเราจัดชั้นต่าง ๆ เข้าที่เข้าทางแล้ว ก็ถึงคราวที่เราต้องประกอบชั้นวัสดุของ Material ConneXion Bangkok โดยการนำแผ่นความรู้ และแผ่นวัสดุติดที่ชั้นทั้ง 2 จากนั้นจึงนำกรอบของชั้นติดทับลงไป เพื่อความสวยงาม
ซึ่งวัสดุทั้ง 4 ชิ้นนี้มีคุณสมบัติพอสังเขป ดังนี้ครับ
1. Visionnex แผ่นภาพกราฟฟิก 3 มิติ แผ่นภาพที่นำไปติดบนวัสดุได้หลายชนิด ให้ลวดลายที่สวยงามทั้ง 2 และ 3 มิติ
2. CVS organic cotton canvas ผ้าฝ้ายผสมฝ้ายอินทรีย์ เป็นผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้ายอินทรีย์ และเส้นใยฝ้ายธรรมดา เหมาะสำหรับเป็นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์, รองเท้า, กระเป๋า เป็นต้น
3. Plant Cloth ผ้าบุจากใยธรรมชาติ เป็นสิ่งทอที่มีส่วนผสมของเส้นใยสมุนไพร ทอจากต้นกระทือ 90 % + ฝ้าย 10 % เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายใน เช่น ทำผ้าม่าน,เฟอร์นิเจอร์
4. Crystaline Mosaics กระเบื้องโมเสก ทำจากโพลิเมอร์ วัสดุนี้ใช้ทดแทนแก้ว และเซรามิกได้ นำไปใช้บุผนังภายใน, ฉากกั้นเคาน์เตอร์ เป็นต้น
จากนั้นเราได้ตรวจสอบหนังสือที่ถูกส่งโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย หลังจากที่ตรวจแล้วขั้นตอนต่อไปคือ การนำหนังสือจัดขึ้นชั้นตามหมวดหมู่ด้วยระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
ในระหว่างที่ผมกำลังจัดหนังสือขึ้นชั้นอยู่นั้น พี่ ๆ ฝ่ายIT ก็กำลังง่วนอยู่กับการติดตั้งจอ Computer Touch screen เพื่อใช้สำหรับ โปรแกรม Shelves browser โปรแกรม Shelves Browser ก็คือ โปรแกรมช่วยค้นหาหนังสือภายในชั้นหนังสือแต่ละชั้น ซึ่งจะให้บริการในรูปแบบของคอมพิวเตอร์หน้าจอแบบสัมผัส (Touch screen) บริการนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้เห็นภาพรวมของชั้นหนังสือ ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุด ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นหนังสือทุกเล่มทั้งแถวพร้อมทั้งสามารถดูรายละเอียดเบื้องต้นของหนังสือได้ คือ ปกหน้า หน้าชื่อเรื่อง สารบัญ และปกหลัง
ขั้นตอนต่อไปคือ การติดแผ่นป้ายให้ความรู้ทางด้านการออกแบบ รวมไปถึง การจัดวาง Brochure ความรู้ , ข่าวสารต่าง ๆ ของทาง TCDC และเรื่องการสมัครสมาชิก ไว้บนชั้นหนังสือสำหรับแจกฟรี
วันที่ 2 : วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2550
หลังจากที่เมื่อวานนี้เราได้เหน็ดเหนื่อยกันไปแล้วกับการติดตั้ง miniTCDC ก็มาถึงวันที่ 2 ของการทำงาน วันที่เป็นการอบรมบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของ miniTCDC ไม่ว่าจะเป็น การอบรมการเก็บสถิติการใช้หนังสือรายวัน, การอบรมการใช้โปรแกรม Shelves browser, การอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ของ TCDC, การอบรมการใช้ Database (MCB ABM DAAI GMID), การอบรมบริการยืม-คืนระหว่างห้องสมุด, การอบรมการใช้ Blog เป็นต้น
จากนั้นในตอนบ่าย ได้มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนใจใน miniTCDC มาร่วมฟังการอบรมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ TCDC จะเน้นในเรื่องของ การใช้โปรแกรม Shelves browser ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาโดยตรง
วันที่ 3 : วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2550
วันนี้ถือเป็นวันจากลา เวลา 10.00 น. เราทั้ง 3 คน ได้เดินทางมาดู miniTCDC ประจำห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ก่อนออกเดินทางผมก็เลยขอเปรียบเทียบภาพก่อน และหลังการติดตั้งมาให้ดูกันเล่น ๆ ครับ หลังจากได้กล่าวอำลาพี่ ๆ บรรณารักษ์แล้ว เราก็พบกับธงประชาสัมพันธ์ miniTCDC ที่ด้านหน้าของอาคารห้องสมุด ก็เลยเก็บภาพมาฝากกันครับ
นอกจากนี้แล้ว ทางห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ยังได้ติดป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ miniTCDC ไว้ประตูทางด้านหน้าของมหาวิทยาลัยด้วยครับ
สุดท้ายนี้ทางทีมงาน TCDC ต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านในความเอื้อเฟื้อ ตลอดระยะเวลาที่พวกเราทำงานกันครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานในโครงการ miniTCDC นี้จะเป็นไปอย่างราบรื่น นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจจะได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มที่ ขอขอบพระคุณครับ.
สถิติการใช้
ที่มา :
"TCDC Library network"http://library.tcdc.or.th/minitcdc/พฤษภาคม 19, 2007
http://tcdclibrary.wordpress.com/tu-l/
http://tcdclibrary.wordpress.com/2007/08/
............